การศึกษาสภาพและแนวทางในการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 โดยวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 97 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการสร้างทีมงาน จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- ผลการศึกษาสภาพการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ทั้ง 5 ขั้นตอน ในภาพรวม พบว่า การศึกษาสภาพการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นการปฏิบัติงานของทีมงาน อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ขั้นการประเมินผลงานของทีมงาน อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลของทีมงานอยู่ในระดับมาก
- ผลการศึกษาแนวทางการสร้างทีมงานของหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่า หัวหน้าฝ่ายวิชาการควรมีการจัดประชุม ปรึกษาหารือ ระดมความคิดเห็น เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาร่วมกำหนดเป้าหมายสถานศึกษา และควรส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สร้างขวัญและกำลังใจ เป็นผู้นำที่ดี และมีความยุติธรรมในการประเมินผลงานของทีมงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
Article Details
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เมทิปส์.กระทรวงศึกษาธิการ. (2553).พระราชบัญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. สืบค้นวันที่ 8 เมษายน 2566,จาก http://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationnalEducation.pdf
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2558). การพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
กันยารัตน์ คำสิทธิ. (2564). แนวทางการสร้างทีมงานสำหรับงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ การพิมพ์ 3.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ : แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธีระเดช ริ้วมงคล. (2559). การทำงานเป็นทีม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการสมัยใหม่ : Modern Management. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประโยชน์ คล้ายลักษณ์ และคณะ. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของ บุคลากร ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พงศ์นภัทร นันศิริ. (2562). การศึกษาสภาพและแนวทางในการสร้างทีมงานของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2559). ทีมงาน Teamwork : พลังที่สร้างความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
รัตนา ดวงแก้ว. (2562). นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัษฎากร ประสาท. (2565). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของหัวหน้าฝ่ายวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลัลนา ปลั่งศรีรัตน์. (2565). การศึกษาสภาพและแนวทางการสร้างทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลำเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษติ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
วราภรณ์ สิงห์กวาง. (2561). รูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก plk2.developsys.net/info/
อรุณี ทองนพคุณ. (2558). การศึกษาบทบาทการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี.
อุษา แซ่เตียว. (2559). ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Dyer, W.G. (1995). Team building: Current Issues and New Alternatives. Addison-Wesley Publishing Company, United States of America
Robbins, S.P. (2001). Organizational behavior (9th ed.). Upper Soddle Rives, NT: Prentice-Hall.