ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่

Main Article Content

เปรมอนันต์ เจือกโว้น
จุติพร อัศวโสวรรณ
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร, 2) ศึกษาความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา, 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นโดยการวิเคราะห์ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคได้ค่าเท่ากับ 0.972 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก, 2) ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก, 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านจินตนาการ และด้านการทำงานเป็นทีม ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .01 และ 4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ทุกคนในองค์กรควรได้รับโอกาสในกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานร่วมกัน และผู้บริหารควรสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทของตนเอง เพื่อนร่วมงาน และทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา

Article Details

บท
Research Articles

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์: Creative Leadership,

เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566. สืบค้น

http://www.academia.edu/8634471/Creative Leadership.

จตุพร งามสงวน. (2560). รูปแบบการพัฒนาองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา

ขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์

ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

จินตนา ดีดวงพันธ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการ

เป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สกลนคร, สกลนคร.

ณณัฐ ช่วยงาน. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ทที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหาร

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, จันทบุรี.

ณัฐชานันท์ พูลแก้ว. (2558). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด

สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ชัยภูมิ.

ธนาภรณ์ นีลพันธนันท์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้ริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

บัณฑิตา สิทธิพงศากุล. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของ

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570).

(1 พฤศจิกายน 2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258.

พัชราพร ศิริพันธ์บุญ. (2017). ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนสูง

ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.

Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies

Research), 11(3), 164-175.

เพ็ญศิริ ฤทธิกรณ์. (2559). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กร

สมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร,

นครปฐม.

ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยบูรพา, จันทบุรี.

รัษฎากร อัครจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียน

ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราช

ภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ละอองดาว เชาว์ชอบ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็น

โรงเรียนสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม

เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

สุภาพร โสภิณ. (2563). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็น

องค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น,

ขอนแก่น.

สุรศักดิ์ เล็กวงษ์.(2563). บทบาทภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี

บัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, จันทบุรี.

เสาวนีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร

สถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

อิบตีซาม เจะหะ. (2015). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.

Arivayagan, K., & Pihie, Z. A. L. (2017). Principals’ creative leadership practices

and school effectiveness. In Leadership, Innovation and

Entrepreneurship as Driving Forces of the Global Economy:

Proceedings of the 2016 International Conference on

Leadership, Innovation and Entrepreneurship (ICLIE) (pp. 553-567).

Springer International Publishing.

Ash, D., & Persall, M. (2007). The new work of formative leadership.

Blanchard, Ken (2007). Leading At A High-Level. Blanchard Management

Corporation, Prentice Hall Pearson Education.

Carew, E.P. and others. (2000). LEADERSHIP 2005. [online]. Available from:

https://helenagmartins.files.wordpress.com/2015/05/life-skills-

leadership-ken-blanchards-leadership-2005.pdf. [accessed 10 March

.

Chernin, P. (2001). Creative leadership: The strength of ideas: The power of

the imagination. Vital Speeches of the Day, 68(8), 245.

Couto, R. A., & Eken, S. C. (2002). To give their gifts: Health, community, and

democracy. Vanderbilt University Press.

De Waal, A. A. (2007). The characteristics of a high performance

organization. Business strategy series, 8(3), 179-185.

Harris, A. (2009). Creative leadership. Journal of Management in Education,

(1), 9-11.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research

activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Miller, L.M. (2012). The High-Performance Organization An Assessment of

Virtues and Values. [online]. Available from : http://www.bahai-

library.com/1743. [accessed 21 March 2023].

Richman, N. (2015). Human resource management and human resource

development: Evolution and contributions. Creighton journal of

interdisciplinary leadership, 1(2), 120-129.

Sternberg, R. J. (2006). The nature of creativity. Creativity research

journal, 18(1), 87.