การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุจิตตรา พันธ์ภูรักษ์
จิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยนำกระบวนการดำเนินงานวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kurt Lewin กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้จากแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน วิเคราะห์ ประมวลผล เรียบเรียงและนำเสนอในรูปแบบความเรียง ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีคะแนนการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย คิดเป็น ร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็มตามที่กำหนด และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 8 คน ของนักเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

Article Details

บท
Research Articles

References

กนิษฐา ภูดวงจิตร. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค POE เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ:กระทรวงศึกษาธิการ.

นิภา ตรีแจ่มจันทร์ และ อุบลวรรณ สงเสริม. (2564). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรูแบบโครงงาน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและวัฒนธรรมท้องถิ่น, 7(1): 240.

ปณิกา ยิ้มพงษ์. (2563). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ ทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การจัดการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มลิวัลย์ จันทร์บาง. (2565). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและวิธีสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร

มารีแย เจะยะปาร์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่องระบบภายในร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

โรงเรียนบ้านหนองย่างงัว. (2565). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนบ้านหนองย่างงัว.

อามีเนาะ ตารีตา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกลวิธี POE ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Alamsyah, M., Marhento, G., Siburian, M. F., Astuti, I. A. D., & Bhakti, Y. B. (2021, March). Application of blended learning with Edmodo based on POE learning model to increase students understanding of science concepts. In Journal of Physics: Conference Series (Vol. 1806, No. 1, p. 012121). IOP Publishing.

Marzuki, S., & Sabillah, B. M. (2020). The Implementation of POE (Predict, Observe, Explain) Learning Model to Improve Students’ Achievement at Class XI Students of SMA Negeri 10 Makassar. ELS Journal on Interdisciplinary Studies in Humanities, 3(4), 552-559. https://doi.org/

34050/elsjish.v3i4. 11891