การวิจัยปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ ต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ฐิติกาล ปรุใหม่
สมชาย วรกิจเกษมสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ (2) ศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน (3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 13 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566  โรงเรียนยางโกนวิทย์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ จำนวน 9 แผน แบบฝึกทักษะ แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ แบบบทดสอบการอ่านเชิงวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เมื่อดำเนินการครบทุกวงจรปฏิบัติการแล้ว ผู้วิจัยได้ทดสอบท้ายการปฏิบัติการวิจัยอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ มีขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นตั้งคำถาม  (2) ขั้นแสวงหาสารสนเทศ (3) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (4) ขั้นการสื่อสาร และ (5) ขั้นตอบแทนสังคม  2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ มีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 4.62 คิดเป็นร้อยละ 46.20 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 9.69 คิดเป็นร้อยละ 96.90 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 7 คิดเป็นร้อยละ 23.33 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.38 คิดเป็นร้อยละ 84.60 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


 

Article Details

บท
Research Articles

References

ชลธิดา หงส์เหม. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชวลิต ชูกำแพง. (2565). ชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ศิลปากร. 5,3: 7 – 20.

ชญานิศ ดวงระหว้า. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 STEPs เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธัญญารัตน์ สุขเกษม, กิตติมา พันธ์พฤกษา และ นพมณี เชื้อวัชรินทร์ (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ เรื่อง วิวัฒนาการ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศึกษาศาสตร์สาร 3, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562), 24-36.

นิชาพร เพชรพงษ์. (2560). แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์. นครสวรรค์: โรงเรียนสตรีนครสวรรค์.

บุญทัน อยู่ชมบุญ. (2529). พฤติกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญนํา เกษี. (2556). รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น. ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ อําเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์.

พงศธร จันเจียวใช้. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการ เรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง รายวิชา ส31102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2564). เสริมสมรรถนะออกแบบและ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบรวมพลังอย่าง Easy : New Normal. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรวุฒิ ยิ่งนอก. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคSTAD เรื่องทรัพยากรธรณีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ราชบัณฑิตยสถาน (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

วีณา วีสเพ็ญ. (2535). เอกสารประกอบการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภโชค แตงทอง และสมพร ร่วมสุข. (2561). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านวิเคราะห์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, (61)2, 278-280.

สิริพร ทิพย์คง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการใช้เทคนิค KWDL โรงเรียนทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, (31)1, 78-81.

สุนิษา กล้าหาญ. (2555). การพัฒนาความสนใจใฝ่รู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองโรงเรียนบ้านหนองบังลอง (อินทรผลบำรุง) จังหวัดชัยภูมิ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อัมพร ม้าคนอง. (2546). คณิตศาสตร์: การสอนและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kemmis & McTaggart. (1988). The action research planner. Geelong: Deakin University.