การสร้าง Application บนโทรศัพท์มือถือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องปราฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครไทยวิทยาคม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

อัญชลี อินสาย
บัญชา สำรวยรื่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของ Applicationบนโทรศัพท์มือถือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วย Application บนโทรศัพท์มือถือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วย Application บนโทรศัพท์มือถือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ กลุ่มเป้าที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนนครไทยวิทยาคม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) Application บนโทรศัพท์มือถือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2) คู่มือการใช้ Application บนโทรศัพท์มือถือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการใช้ Application บนโทรศัพท์มือถือ 4) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3 ทักษะ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ Application บนโทรศัพท์มือถือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) Application บนโทรศัพท์มือถือ คุณภาพโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.14, S.D. = 0.30) 2) นักเรียนที่เรียนด้วย Application บนโทรศัพท์มือถือ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วย Application บนโทรศัพท์มือถือ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ Application บนโทรศัพท์มือถืออยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.14, S.D. = 0.80)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิระนันท์ สุขบรรจง. (2562). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเเอปพลิเคชั่น. เข้าถึงจากได้จาก : https://sites.google.com/site/jiranunsuk571031217. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 มกราคม 2564)

จันทร์ประภา ชุมชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้าง

ความรู้ด้วยตนเองและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่ม

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสาร

สันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร. 8(3) : 995 – 996.

ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐฉรียา สุขสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาสื่อประกอบบทเรียน เรื่องรำวงมาตรฐานผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการรำวงมาตรฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน). ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ณัฐพล ม่วงธรรม. (2564). วิเคราะห์ Digital Thailand 2020. เข้าถึงจากได้จาก : https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/digital-thailand-2020-we-are-social/. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 มกราคม 2564).

ดีมีเตอร์ ไอซีที. (2561). แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ. เข้าถึงจากได้จาก : https://medium.com/@demeter_ict_news. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 มกราคม 2564).

นิชนันท์ เบ็ญญามา. (2555). ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ. เข้าถึงจากได้จาก :https://www.gotoknow.org/posts/31276. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 มกราคม 2564).

นพวรรณ ถนอมพันธ์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(3) : 193 - 194.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). พัฒนาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาการวิจัยทาง การศึกษา บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ปีที่ 3 ฉบับที่ 1. : 38.

พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร. (2556). คู่มือเขียนแอพ Android. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภาณุวัฒน์ วรพิทย์เบญจา. (2558). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 8(2) : 58.

ระพีพรรณ พงษ์ปลื้ม, และ นวลศรี ชำนาญกิจ. (2557). การพัฒนาชุดการสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 4(7) : 11.

รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2559). ผลการใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ บนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2) : 1030 – 1031.

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์. (2561). ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์. เข้าถึงจากได้จาก: http://www.lesa.biz/astronomy/astro-events. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 มกราคม 2564).

ศุภชัย สมพานิช. (2562). คู่มือพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย Android Studio. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไอดีซี พรีเมียร์.

สถิตย์ จอมใส. (2560). การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา. เข้าถึงจากได้จาก: https://sites.google.com/site/websitessthid/kar-phathna-sux-laea-thekhnoloyi-thangkar-suksa. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 มกราคม 2564).

สุธารี คำจีนศรี, และ ภคพร จิตตรีขันธ์. (2560). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษร เอ็ดดูเคชั่น

สุเมธ ปัจฉิมสุภาคม, จิรายุทธ รุ่งแสง, และสุวนิตย์ รุ่งราตรี. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟน ได้ศึกษาเรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรดิตถ์วิทยาประสูทน์. วารสารแม้โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561.

อักษรเจริญทัศน์. (2560). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. เข้าถึงจากได้จาก : https://www.aksorn.com. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 มกราคม 2564).

อัญชลี เหล่ารอด. (2554). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สามโดยใช้คำถามควบคู่กับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.