แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดชลบุรีในภาวะวิกฤต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาความต้องการการมีส่วนร่วมของผู้อาศัยในพื้นที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรีในภาวะวิกฤต (3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรีในภาวะวิกฤต (4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรีในภาวะวิกฤต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ (1) ผู้ที่อาศัยในพื้นที่ 4 แห่ง จำนวน 400 คน (2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ จำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ (1) ผู้อำนวยการ หรือเจ้าหน้าที่สนับสนุนงานท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดชลบุรี จำนวน 4 คน (2) ปลัดอำเภอ จำนวน 4 คน (3) ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร และร้านค้าขายของที่ระลึกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยเดินทางมาท่องเที่ยว ณ สถานที่แห่งนี้ (ไม่รวมครั้งนี้) เดินทางมาท่องเที่ยว ณ สถานที่แห่งนี้ (ไม่รวมครั้งนี้) 2-3 ครั้ง ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ด้วยรถยนต์ส่วนตัว ใช้เวลาในการท่องเที่ยว 1 วัน/ครั้ง เดินทางมากับครอบครัว ส่วนใหญ่มีค่าอาหาร/เครื่องดื่ม สำหรับการท่องเที่ยวครั้งนี้โดยเฉลี่ย 401-600 บาท/คน/วัน ค่าที่พักสำหรับการท่องเที่ยวครั้งนี้โดยเฉลี่ย 401-600 บาท/คน/วัน และ 601-800 บาท/คน/วัน ส่วนใหญ่มีค่ายานพาหนสำหรับการท่องเที่ยวครั้งนี้โดยเฉลี่ย 401-600 บาท/คน ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับการท่องเที่ยวครั้งนี้โดยเฉลี่ย 401-600 บาท/คน ในด้านของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ต่อการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในชุมชน ได้แก่ (3.1) ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด (3.2) ประชาสัมพันธ์ให้กับนักท่องเที่ยวผ่านช่องทางสื่อโซเชียลมีเดีย (3.3) แจ้งแนวทางการสอบสวนควบคุมโรค และแนวทางการกักกัน โดยทำเป็นหนังสือ (3.4) ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแนวทางป้องกันผ่านสำนักงานสาธารณสุข (3.5) ร่วมมือและส่งเสริมการป้องกันการแพร่ระบาดกับโรงพยาบาลและศูนย์อนามัยในชุมชน (3.6) จัดตั้งศูนย์ควบคุมสถานการณ์โควิดเป็นศูนย์หลักของอำเภอ (3.7) กระจายข่าวสารผ่านผู้นำชุมชน (4) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรีในภาวะวิกฤต ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 การพัฒนาคุณลักษณะขององค์กรท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนด้านการติดตามประเมินผล แนวทางที่ 3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ แนวทางที่ 4 การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์ และแนวทางที่ 5 การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และ พัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน และบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(83), 97-112.
ปิยวิทย์ เอี่ยมพริ้ง. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรณีศึกษา สามพันโบก อำเภอ โพธิ์ไทรจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 4(2), 129-151.
รุ่งราตรี อึ้งเจริญ. (2560). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 133-148.
วรวลัญช์ สัจจาภิรัตน์. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาชุมชนทุ่งเพล ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). แนวโน้มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยปี 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornbank.com/internationalbusiness/th/Thailand/IndustryBusiness/ Pages/201901_Thailand_TourismOutlook19.aspx.
สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. (2562). รายงานข้อมูลสาธารณะ. เข้าถึงได้จาก https://www.citydata.in.th/chonburi/dashboard-public/.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี. (2563). แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี. เข้าถึงได้จาก http://www.chonburimots.go.th/th/#.
เสาวคนธ์ ฟรายเก้อ. (2562). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา กลุ่มเขาออกการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.