แนวทางการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาทักษะวิศวกรสังคมของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับทักษะวิศวกรสังคมของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการประสานงาน
และทักษะการสร้างนวัตกรรม โดยนำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขสมบูรณ์ไปทดลองเก็บ (Tryout) กับนักศึกษา
ที่เป็นกลุ่มใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอ
นบาค (Cronbach’s Alpha) ได้ค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือของแบบสอบถามมากกว่า 0.966 ซึ่งถือว่า
แบบสอบถามนี้มีความเชื่อถือได้สามารถนำไปเก็บข้อมูลได้จริง โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคปกติ
ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง จำนวน 400 คน และแบบสัมภาษณ์ (แบบกึ่ง
โครงสร้าง) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง ที่ผ่านการอบรมทักษะวิศวกรสังคม จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาตามความมุ่งหมายของการวิจัย ข้อที่ 1 พบว่านักศึกษามี
ทักษะวิศวกรสังคมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74) มีความเชี่ยวชาญในการคิดวิเคราะห์และแยกแยะ
ข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี นอกจากนี้ยังมีภาวะผู้นำและสามารถสร้างสรรค์
นวัตกรรมในการพัฒนาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลการศึกษาตามความมุ่งหมายของการวิจัย ข้อที่ 2 พบว่า
อาจารย์ผู้สอนควรเน้นกลไกการออกแบบกิจกรรมการฝึกอบรมและการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดทักษะ Soft
Skills ในรูปแบบต่างๆ ผ่านเครื่องมือสำคัญของวิศวกรสังคม รวมถึงเครื่องมือเสริมทักษะอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการคิด
สร้างสรรค์ การแก้ปัญหาการสื่อสาร การประสานงานและทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวต้องมีกลไกการทำงาน
ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนงานร่วมกันทั้งคณาจารย์ บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้กลไกการทำงาน
มีความต่อเนื่องตั้งแต่นักศึกษาเริ่มเข้าศึกษาจนกระทั่งจบการศึกษาและออกสู่ตลาดแรงงาน
Article Details
References
ธนสาร เพ็งพุ่ม. (2565). กระบวนการในศึกษาและเปรียบเทียบการพัฒนาด้านวิศวกรสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบลสงคราม. บทสัมภาษณ์.
ธีรพัฒน์ พูลทอง. (2565). การพัฒนาด้านวิศวกรสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. บทสัมภาษณ์.
นงรัตน์ อิสโร. (2564a). คู่มือพัฒนานักศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง.
นงรัตน์ อิสโร. (2564b). คู่มือพัฒนานักศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ : แบบฝึก Soft skills จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ฉบับรั้วมหาวิทยาลัย. บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2565). เทคนิคการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ.สืบค้นจาก https://www.popticles.com/communications/effective-communication-techniques
ภิญญา ทนุวงษ์. (2555). องค์ประกอบในการประสานงานที่มีผลต่อประสิทธภาพในการทำงานของพนักงานฝ่าย ประกันคุณภาพ องค์การเภสัชกรรม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัตนาภรณ์ ศรีพยัคฆ. (2553). เทคนิคการประสานงาน (Cooperation Technique). In. สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
รุ่งทิวา นาวีพัฒนา. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคนิคแผนที่ความคิด. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรทัศน์ วัฒนชีวโนปกรณ์. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะสื่อสารสำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/661
วัยญา ยิ้มยวน. (2547). การวิเคราะห์อภิมานของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดวิจารณญาณ. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริมา พนาภินันท์, และ ทัศนัย เพ็ญสิทธิ์. (2564). Soft Skills ที่มีความจำเป็นสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารศิลป์ ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์, 9(2), 108- 112.
Decaroli, j. (1973). “What Research Say to the Classroom Teacher: Critical Thinking,”. Social Education, 37(1), 67-68
Ness, R. B. (2015). Promoting innovative thinking. American journal of public health, 105(1), 114-118.
Yamane Taro. (1973). Statistic: An introductory and lysis. (2nd/ed). New York: Harpar and row.