การศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาโดยการใช้แนวคิดการฝึกพูดเชิงบวกที่ส่งผลต่อกรอบความคิดแบบเจริญเติบโตของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

ณิชชากร เกียรติทนง
ปวีณา อ่อนใจเอื้อ
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาโดยการใช้แนวคิดการฝึกพูดเชิงบวก ที่ส่งผลต่อกรอบความคิดแบบเจริญเติบโต และเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาโดยการใช้แนวคิดการฝึกพูดเชิงบวกที่ส่งผลต่อกรอบความคิดแบบเจริญเติบโต เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 เป็นนิสิตที่ลงทะเบียนในรายวิชาเลือกของสาขาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาคปลาย ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 คน จาก 1 หมู่เรียน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือในการทดลอง คือ กิจกรรมโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 -1.00 2) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูล 4 ชุด คือ แบบวัดกรอบความคิดแบบเจริญเติบโต ที่มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 -1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ .95 แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบสัมภาษณ์ ที่มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 -1.00  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า IOC ค่าสถิติ Willcoxon matched – pairs sign-ranks test และวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบบันทึกการเรียนรู้และแบบสัมภาษณ์นิสิต


ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมการใช้โปรแกรมการฝึกพูดเชิงบวกมีระดับกรอบความคิดแบบเจริญเติบโตในระยะหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนิสิตกลุ่มทดลองมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ, ลำเจียก กำธร, & มณีนุช ปริสุทธิคุณากร. (2552). ความยั่งยืนของ

โปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวก ต่อภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(2), 50-64.

กุสุมา ยกชู. (2561). การศึกษาและเสริมสร้างกรอบคิดงอกงามของนักศึกษาวิชาชีพครู. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ.

ชนิตา รุ่งเรือง, & เสรี ชัดแช้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. วารสารวิชาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 1-13.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2566a). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Retrieved from https://www3.rdi.ku.ac.th/?page_id=10811

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2566b). ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Retrieved from https://regis.ku.ac.th/cpcmns/rpt_std_ku3.php

มุทิตา อดทน. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วลัยพร ศรีรัตน์, สุขุม เฉลยทรัพย์, & ชนะศึก นิชานนท์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 408-422.

ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา. (2561). Mindset กรอบความคิด. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ข่าว “ศึกษา Take care ดูแลใจ มอบความรักเติมเต็มความสุข”. Retrieved from https://ops.moe.go.th/moe-take-care/

อรพรรณ การค้า, & ประยุทธ ไทยธานี. (2557). ผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตนเองเชิงบวกที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 12(2), 61-69.

Blackwell, L. S., Trzesniewski, K., & Dweck, C. s. (2007). Implicit Theories of Intelligence Predict Achievement Across an Adolescent Transition: A Longitudinal Study and an Intervention. Child Development, 246-263.

Chen, D. D. (2011). Stress Management and Prevention: Applications to Everyday Life. New York.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success: Random House Publishing Group.