การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 2) เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อรายวิชาวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง จำนวน 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 120 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการสุ่ม แบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐาน จำนวน 18 ชั่วโมง แบบประเมิน การคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test
ผลการวิจัยพบว่า
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานมีความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง มีเจตคติต่อรายวิชาวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงาน เป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.
ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
ทวีพร ธรรมสิทธิ์ และอัญชลี ทองเอม. (2561).การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 .วิทยานิพนธ์กาศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่4) กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2556). รายงานโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชนไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).
ปวัลย์รัตน์ สุวรรณโคตร. (2558). การใช้วิธีการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2550 ). แนวทางการพัฒนาการสอนกระบวนการคิด. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เบญจวรรณ กี่สุขพันธ์. (2560). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ (Learning Management Techniques) (อินเตอร์เน็ต).(เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค.2566). เข้าถึงได้จากhttps://images-seed.com/ws/Storage/PDF/552284/007/5522840075949PDF.pdf
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พรรณณี ลีกิจวัฒนะ. (2549). วิธีการวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร ลาดกระบัง.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21.วารสารนักบริหาร.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
พุทธชาติ ศรีประไพ. (2564).การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการ สร้างนวัตกรรมของผู้เรียน.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลุฏฟี ดอเลาะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์กาศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรันญา วิรัสสะ. (2561). การศึกษาหาความสัมพันธ์ของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์กับทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดสิงห์บุรี สังกัดโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 11.
วัชรี นวลผ่อง. (2553). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง งานประดิษฐ์ จากภูมิปัญญาไทย วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ศิริรัตน์ ทะนุก และคณะ. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การสร้างหนังสือสามมิติ โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐาน.มหาวิทยาลัยบูรพา.สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพล วังสินธ์. (2543). “การจัดกจิกรรมการเรียนรู้สู่โครงงาน”. วารสารวิชาการ.
อัณฉรี ศิลางัด. (2565).การพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุษณีษ์ บัวศรี และบรรณรักษ์ คุ้มรักษา. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดกาญจนาราม โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย. วารสารฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภูมิศาสตร์ ภาคใต้, 2(1), 165-177.