การพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นด้วยโปรแกรมฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับหลักการสอนแบบ 3R สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พุธิตา อินทร์ดำ
ประภาศ ปานเจี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นด้วยโปรแกรมฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับหลักการสอนแบบ 3R สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงโดยมีเกณฑ์การคัดเข้า คือ 1) ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา 2) นักเรียนสามารถฟังคำสั่งง่ายๆ เข้าใจ สามารถปฏิบัติตามได้ 3) ผู้ปกครองยินดีในการเข้าร่วมการวิจัย 4) นักเรียนสามารถมาเข้าร่วมการวิจัยอย่างต่อเนื่องตามกำหนด 5) นักเรียนมีบัตรคนพิการที่รับรองว่าเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 6) เป็นนักเรียนที่มีผลการทดสอบความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่ผ่านเกณฑ์ โดยระยะเวลาในการดำเนินการทดลองอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2567 ซึ่งจะทำการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมฝึกสมรรถภาพทางกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับหลักการสอนแบบ 3R ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับหลักการสอนแบบ 3R 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายการทดสอบนั่งงอตัว (Sit and Reach Test)  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบวัดซ้ำ (One way repeated measure ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 4 คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาของสมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นหลังการฝึกด้วยโปรแกรมฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับหลักการสอนแบบ 3R ที่ดีขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมพลศึกษา. (2556ก). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบ Dynamic Stretching สำหรับนักกีฬา. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมอนามัย. (2543). คู่มือส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐพร สุดดี. (2562). ทักษะและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กเล็ก (พิมพ์ครั้ง

ที่ 1).

ณัชพร ศุภสมุทร์, สุจิตรา สุขเกษม, ปัทมา พนมวัน ณ อยุธยา และ รัตน์ จันทร์เนตร. (ม.ป.ป.) การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. สืบค้นจากhttp://www.rajanukul.go.th/new/admin/download/D0000071.pdf.

นภสร นีละไพจิตร. (2558). ผลของการฝึกโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ที่มีผลต่อความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ และศึกษาความพึงพอใจหลังจากการใช้โปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. รายงานวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นัฐพล น้อยคำเมือง และกิตติครรชนะอรรถ. (2551). การเปรียบเทียบการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ที่มีต่อความอ่อนตัว. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิวัฒน์ บุญสม (2561). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อความอ่อนตัวของนักศึกษาชาย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศิลปากร: รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผดุง อารยะวิญญู. (2541). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่3 กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พล เหลืองรังษี. (2564). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).

ภาพพิมพ์ วังบุญคง และ ชัชวาลย์ วิชัยสุชาติ. (2566). การประยุกต์ใช้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อพัฒนาความอ่อนตัวของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9(2), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/265417

เรวดี แก้วยก. (2554). “ผลของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อความอ่อนตัวของนักกรีฑาหญิง โรงเรียนท่าอุแทพิทยา จังหวัดสุราษฎ์ธานี.” วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์. (2539). สมรรถภาพทางกายและทางกีฬา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการเป็นผู้ฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Andrew R. Mohr, et al. (2014). “Effect of Foam Rolling and Static Stretching on Passive Hip-Flexion Range of Motion.” Sport Rehabilitation, 23, 4 (November 2014) : 296-299.

American College of Sports Medicine. (2014). ACSM’S Resources for The Personal Trainer. 4th ed. Baltimore : Lippincott Williams & Wilkins.