การประเมินโครงการอาหารกลางวัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้รูปแบบซีโป (CPO’S Evaluation Model)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการอาหารกลางวัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้รูปแบบซีโป (CPO’ S Evaluation Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 313 คน โดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การประเมินโครงการอาหารกลางวัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้รูปแบบซีโป (CPO’ S Evaluation Model) โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1) ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
เจษฎา บพิตรสุวรรณ. (2551). การประเมินโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทุเรียน พันธ์ปรุ. (2551). การประเมินผลโครงการอาหารกลางวัน ของโรงเรียนอนุบาลจิตอาทร จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
สมจิต แก้วแสงขวัญ. (2545). การประเมินโครงการโรงเรียนสีขาวของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับชาติ 5 ปี
พ.ศ. 2562-2566. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พบลิชชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน
ประจำปีการศึกษา 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุพักตร์ พิบูลย์. (2551). “แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประเมิน”ในประมวลสาระชุดวิชาการ
ประเมิน และการจัดโครงการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
Borgman, N. D. (1984). Administration of School Lunch Programs for Small, Medium and Large School. Dissertation Abstracts International, 44(1), 1982-A.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research
activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),
–610. อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุง
ใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.