ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างความร่วมรู้สึก ของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างความร่วมรู้สึกของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาล 2. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างความร่วมรู้สึกของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาล โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และคุณครูผู้สอนในระดับอนุบาล ได้จำนวนผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างความร่วมรู้สึกของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาล และการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างความร่วมรู้สึกของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาลคือ ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNIModified = 0.052) รองลงมา คือ ด้านการบริหารและพัฒนาหลักสูตร(PNIModified = 0.050) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และสื่ออุปกรณ์ (PNIModified = 0.0467) และด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNIModified = 0.0418) ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารและคุณครูผู้สอนในระดับอนุบาลต้องการจัดทำการวัดและประเมินพัฒนาการเพื่อส่งเสริมความร่วมรู้สึกของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาลเพิ่มขึ้นเนื่องจาก การวัดและประเมินพัฒนาการมีความจำเป็นและสำคัญต่อผู้เรียน รวมถึงสะท้อนประสิทธิภาพการสอน การจัดการเรียนรู้ของคุณครู และเป็นข้อมูลสำคัญในการดำเนินงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอีกด้วย ดังนั้น การจัดการวัดและประเมินพัฒนาการได้ตรงกับสภาวะความเป็นจริงในปัจจุบัน จะช่วยเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการพัฒนาการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเพื่อเสริมสร้างความร่วมรู้สึกของนักเรียน
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2561 ). คู่มือปฏิบัติสำหรับการป้องกันและการจัดการการรังแกกันในโรงเรียน. บียอนด์ พับลิสซิ่ง. https://new.camri.go.th/_admin/file-content-downlaod/FM-514-1560738808.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพธุริจ. (2563). เด็กกทม. เจอปัญหาภาวะโภชนาการมากที่สุด. Retrieved 21 ตุลาคม 2563 from https://www.bangkokbiznews.com/social/903546
จุติกาญจน์ สังข์ยิ้ม. (2555). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมโยคะ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Jutikarn_S.pdf
ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)].
สถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล. (2022). ในปี 2564 ประชากรส่วนไหนย้ายถิ่นฐานมากที่สุด. Retrieved สืบค้น 18 ตุลาคม 2566 from https://www.nupress.grad.nu.ac.th/วิธีการเขียนบรรณานุกรม/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). การกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนจากมุมมองของ PISA. https://drive.google.com/file/d/1ExKIOcYKskk5DMxF2r0Ws3iswbTbcpR3/view
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี https://www.sepo.go.th/assets/document/file/แผนยุทธศาสตร์ชาติ%2020%20ปี%20.pdf
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2558). STEM TO STEAM PLUS STREAM AND STEMM ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 13.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2561). ปัญหาการรังแกกัน (Bullying)ในสถานศึกษา. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=52582&filename=house2558
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alberdi-Paramo, I., Saiz-Gonzalez, M. D., Diaz-Marsa, M., & Carrasco-Perera, J. L. (2020). Bullying and childhood trauma events as predictive factors of suicidal behavior in borderline personality disorder: Preliminary findings. Psychiatry Research, 285, 112730. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.psychres.2019.112730
Arizaga, M. P., Bauman, S., Waldo, M., & Castellanos, L. P. (2005). Multicultural sensitivity and interpersonal skills training for preservice teachers. The Journal of Humanistic Counseling, Education and Development, 44(2), 198-208.
Bouton, B. (2016). Empathy research and teacher preparation: Benefits and obstacles. Srate Journal, 25(2), 16-25.
Hoffman, M. L. (2008). Empathy and prosocial behavior. Handbook of emotions, 3, 440-455.
Kaya, B. (2016). An evaluation of the empathy levels of pre-service social studies teachers. Educational Research and Reviews, 11(6), 229-237.
Maxwell, J. C. (1998). The 21 Irrefutable Laws of Leadership- Follow Them and People Will Follow You. Thomas Nelson Publishers.
Peck, N. F., Maude, S. P., & Brotherson, M. J. (2015). Understanding preschool teachers’ perspectives on empathy: A qualitative inquiry. Early Childhood Education Journal, 43, 169-179.
Potegal, M., & Davidson, R. J. (2003). Temper tantrums in young children: 1. Behavioral composition. J Dev Behav Pediatr, 24(3), 140-147. https://doi.org/10.1097/00004703-200306000-00002
Stern, J. A., & Cassidy, J. (2018). Empathy from infancy to adolescence: An attachment perspective on the development of individual differences. Developmental Review, 47, 1-22. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.dr.2017.09.002
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis.