ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ ร่วมกับกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมายที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกลวิธี พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ ร่วมกับกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมายก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกลวิธี พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ ร่วมกับผังสัมพันธ์ของความหมายกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 74 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จากนั้นเลือกกลุ่มทดลองด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 37 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยกลวิธี พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ ร่วมกับกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมาย 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วย t-test for dependent และ t-test for independent ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกลวิธี พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ ร่วมกับกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมายมีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกลวิธี พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ ร่วมกับกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมายมีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
นิภาพร ใจฟู. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามวิธีการสอนแบบ SQ4R
ร่วมกับผังสัมพันธ์ทางความหมาย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิรดา เพชรงาม. (2557). การใช้ พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน
ภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษ). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). การแถลงข่าวผลการประเมิน
PISA 2022. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2566, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/ news-12/
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2551).ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน. นนทบุรี: ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์.
อลินดา อินทร์อยู่. (2553). การใช้พี เอส คิว ไฟว์ อาร์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าในการอ่าน
และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Cross, D.R., & Paris, S.G. (1988). Developmental and instructional analyses
of children's metacognition and reading comprehension. Journal of Educational Psychology, 80(2), 131-142.
Halter, T. (2013). Effect of RAP Paraphrasing and Semantic Mapping
Strategies on the Reading Comprehension of English Learners and Fully-English-Proficient Students with Mind-to Moderate Learning disabilities. San Francisco: University of San Francisco.
Khoii, R., & Sharififar, S. (2013). Memorization versus semantic mapping in L2
vocabulary acquisition. English Language Teacher Journal. 67(2): 199-209.
Pressley, M., El-Dinary, P. B., Gaskins, I., Schuder, T., Bergman, J. L., & Brown, R.
(1992). Beyond direct explanation: transaction instruction of reading comprehension strategies. Elementary School Journal. 92(5). 513-555.
Reutzel, D. R., & Cooter, R. B. (2003). Strategies for reading assessment and
instruction: Helping every succeed. New Jersey: Merrill Prentice Hall.
Vadasy, P. F., & Nelson, J. R. (2012). Vocabulary Instruction for struggling
students. New York: Guilford Press.