รูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสงขลา

Main Article Content

พัศรเบศวณ์ เวชวิริยะสกุล
เกศริน บินสัน
ชัชวีร์ แก้วมณี
ชวนพิศ ชุมคง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเทศบาลนครสงขลา และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเทศบาลนครสงขลา จำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารและครู และ 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเพื่อสะท้อนคิดการดำเนินงาน


          ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสงขลา มีการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การลงนามทำความร่วมมือการพัฒนา 2) การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก 3) การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน 4) การออกแบบกิจกรรมเชิงรุกเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน 5) การเปิดชั้นเรียนและสังเกตชั้นเรียน 6) การสะท้อนคิดหลังเปิดชั้นเรียน และ 7) การประชุมสะท้อนผลการพัฒนา ทั้งนี้หลังจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสงขลาได้เข้าร่วมการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PLC) ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านครูผู้สอนและเพื่อนครู และด้านนักเรียน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นผู้นำวิชาการมากขึ้น ให้ความสำคัญและสามารถบริหารการขับเคลื่อนกิจกรรม PLC ให้เป็นไปตามกิจกรรมที่กำหนดร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนและเพื่อนครู พบว่า ครูผู้สอนมีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีทัศนคติที่ดีและยอมรับการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียน
การสอนผ่านการชี้แนะบทเรียนร่วมกัน นักเรียน พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น มีทักษะการอภิปรายและการสรุปความเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู: กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา: แนวทางสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 12(2), 123-134.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562) แนวทางการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษในบทบาทคณะทำงาน กำกับติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ

แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของเครือข่ายที่รับเงินอุดหนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. เอกสารการประชุม 2

สิงหาคม 2562.

สุภัคจิรา อ่อนสัมฤทธิ์ และคณะ (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11(3), 1193-1210.

Darling-Hammond, L. (1999). Teacher quality and student achievement. Washington: Centre for the study of teaching and policy,

university of Washington.

Verbiest, E. (2008). Sustainable school development: Professional learning communities. Netherland: Fontys University. learning

communities on teaching practice and

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallance, M. & Thomas, S. (2006). Professional learning communities: A review of the literature.

Journal of Education Change, 7, 221-258.

Yoshida, M. (2006). An overview of Lesson Study. Philadelphia: Research for better schools.