การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน

Main Article Content

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
เกศริน บินสัน
ศิวัช บุญเกิด
ฉัตรจงกล ตุลยนิษกะ
จิรวัฒน์ นนทิการ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของประชาชนในชุมชนพูลสุขในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ออกแบบและพัฒนาหลักสูตร พื้นที่การเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนพูลสุขในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของประชาชนในชุมชนพูลสุขในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชน 3 กลุ่ม ได้แก่ วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การพรรณนาวิเคราะห์


ผลการศึกษา พบว่า


  1. ผลการศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือออนไลน์ และต้องการพัฒนาทักษะอาชีพจากทุนวัฒนธรรม และทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนพูลสุข เขตเทศบาลเมืองหัวหิน

  2. ผลการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร พื้นที่การเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้
    เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า มีความต้องการให้พัฒนาหลักสูตรทักษะใหม่ หลักสูตรทักษะอาชีพ และพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ในชุมชนพูลสุขและชุมชนใกล้เคียง เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองหัวหินและต่อยอดสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

  3. ผลการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ทั้ง 2 หลักสูตร และมีการยกระดับพื้นที่การเรียนรู้ใน 7 แห่ง ของชุมชนพูลสุขและชุมชนใกล้เคียงสู่การพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้ชุมชน

Article Details

บท
Research Articles

References

จิรากานต์ อ่อนซาผิว และสุชาดา นันนทะไชย. (2564). ปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 โรงเรียนวัดด่านสำโรง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 1. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. 6 (4), 49-66

เทศบาลเมืองหัวหิน. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองหัวหิน. ประจวบคีรีขันธ์: เทศบาลเมืองหัวหิน.

_______. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2563. ประจวบคีรีขันธ์: เทศบาลเมืองหัวหิน.

พงษ์ชัย เพ็ญศักดิ์ณุสรณ์ และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2560). แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎ

ร้อยเอ็ด. 12 (2), 219-227.

รวิธ รัตนไพศาลกิจ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต.

วิลานี สาลักษณ์. (2563). ความต้องการพัฒนาตนเองในช่วงภาวะวิกฤติโควิด 19 ของวัยทำงานกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย

ธุรกิจบัณฑิตย์.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การศึกษาตลอดชีวิต. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย. 14 (26), 159-175.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาการศึกษาเสวนา (OEC FORUM) 2015-2016: จากข้อเสนอสู่นโยบาย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

อติพร เกิดเรือง. (2565). การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนไทยยุค 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 7 (2), 164-185.

UNESCO. (1970). An Introduction to Lifelong Education. Paris: UNESCO.