ความสุขในการเรียนรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษา ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการเรียนรู้ ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนในรายวิชา 0303323 การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ส่วนเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับความสุขในการเรียนรู้ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่อง ความสุขในการเรียนรู้ ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษา ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจัดการเรียนการสอนครบจำนวน 15 สัปดาห์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ได้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ความสุขในการเรียนรู้ ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.62) และเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Article Details
References
ดิเรก พรสีมา. (2543). ปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ส.รุ่งทิพย์ออฟเซ็ท.
ปัทมา ทองสม. (2554).การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 4 (1); 88-111.
วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์
เมษา นวลศร (2562). การวิเคราะห์ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (2) ตุลาคม–ธันวาคม); 223-243.
วิมลยา เนื้อทองและคณะ. (2561). การศึกษาระดับความสุขในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 10(3): 424-435.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
สตรีรัตน์ ศรีดาวเรือง รพีพัฒน์ จันทนินทร และอรรถสิทธิ์ นิกรวัฒน์. (2562). ความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์” ครั้งที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562.
สังคม คุณคณากรสกุล. (9 กันยายน 2552). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://www.212cafe.com/freewebboard/
view.php?user=santi&id=117.
Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill. P. 219-224.
McKinsey. (2007). McKinsey Report on Education. (2014, March 1). Retrieved from http// www.mckinsey.com.
Palmer, J. A. (1998). Environmental education in the 21st century: Theory, practice, Progress and promise. London: Routledge.