การประเมินโครงการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา โรงเรียนวัดภูเขาทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา โรงเรียนวัดภูเขาทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ประเมินการดำเนินงานโครงการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา ด้านปฏิกิริยา การเรียนรู้ พฤติกรรม และผลลัพธ์ในการดำเนินงาน 2)ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพคือ ผู้บริหาร 1 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน ครู 3 คน นักเรียน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 10 คน ใช้รูปแบบการประเมินแบบเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick Model) ของ โดนัลด์ แอล เคิร์กแพทริค (Donald L. Kirkpatrick) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.91 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1.ประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา โรงเรียนวัดภูเขาทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านผลลัพธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านปฏิกิริยา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม รองลงมาคือ การอบรมมีการอธิบายและสาธิตได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย และวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการเพียงพอเหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ด้านการเรียนรู้ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือนักเรียนรู้วิธีการป้องกันและเอาตัวรอดจากอัคคีภัย รองลงมาคือนักเรียนมีความมั่นคงทางอารมณ์และสามารถควบคุมอารมณ์ขณะเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยในการขับขี่ และนักเรียนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันยาเสพติดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ด้านพฤติกรรม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือนักเรียนจะตักเตือนผู้อื่นให้ตระหนักถึงความสำคัญของอัคคีภัย รองลงมาคือนักเรียนมีความละเอียดรอบคอบในชีวิตประจำวันมากขึ้น และนักเรียนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันยาเสพติด นักเรียนรู้วิธีขับขี่ปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ด้านผลลัพธ์ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนเข้าร่วมรณรงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากท้องถนน รองลงมาคือสถิติปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดภายในโรงเรียนลดลง และนักเรียนถ่ายทอดความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านอัคคีภัยไปยังเพื่อน ผู้ปกครองและบุคคลอื่นได้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. แนวทางการพัฒนาโครงการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาโรงเรียนวัดภูเขาทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ด้านปฏิกิริยาเพิ่มวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการให้เพียงพอโดยขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานภายนอก เอกสารประกอบการอบรมต้องมีองค์ความรู้ครบถ้วน อ่านง่าย ภาพสีสันสวยงาม ด้านการเรียนรู้ ควรยกตัวอย่างกรณีศึกษาและแนะแนวทางวิธีการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด อัคคีภัย และการขับขี่ปลอดภัย ด้านพฤติกรรม ฝึกให้นักเรียนกล้าปฎิเสธต่อสิ่งที่คาดว่าจะนำไปสู่ยาเสพติด ฝึกให้นักเรียนเตรียมความพร้อมในการรับมือเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ และปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดอัคคีภัย ด้านขับขี่ปลอดภัยปลูกฝังให้นักเรียนมีระเบียบวินัยและเคารพกฎจราจร ด้านผลลัพธ์สร้างความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยและสร้างมาตรการรายงานเหตุการณ์ต่อผู้บังคับบัญชาอย่างฉับไว
Article Details
References
เอมอัชา วัฒนบุรานนท์. (2548). ความปลอดภัย พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ: โอเดียนสโตร์.
สฤษดิ์พานดา. (2551). การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตบางเขน. รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (สำเนา).
นัทธพงศ์ นันทสำเริง. (2553). การปรับปรุงภาพความปลอดภัยและสร้างจิตสำนึก
ด้านความปลอดภัยในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านค้อกุดลาด
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2554). การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา.
อดิศร ดีปานธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมใน
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎี : มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
เชษฐา บุญชวลิต. (2553). การดำเนินงานรักษาความปลอดภัย ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครพนม เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหา
บัณฑิต โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
นัทธพงศ์ นันทสำเริง. (2553). การปรับปรุงภาพความปลอดภัยและสร้างจิตสำนึก
ด้านความปลอดภัยในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านค้อกุดลาด
ธีรวัฒน์ สมเพาะ. (2551). การจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาสำนักเทศบาล จังหวัด
สมุทรปราการรายงานการศึกษาค้นคว้าตนเอง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการ
การศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.(สำเนา).
(Deroche; & Kaiser, 1980: 160-166) Student Security Measures 1) School safety
management focuses on the school environment.
Ontario (Ontario, 2012: online) outlined student safety measures. 1) School safety
management focuses on the school environment.
Hidayati Nurul, et al., 2012, 1339-1349 studied the impact of school safety zones,
road marking, and traffic signals on speed behavior.
Li Si-jian, et al., 2016, 46-50) studied school safety and health of children living in
Lushan community after the earthquake.
(Vicario Anna Diaz, 2012, 159-176) School safety management in Catalan
(Cztzlan), Spain.
Zohar Dov, 2016, 116-124 on the effect of the safety climate and disruptive
behavior of children on the performance of drivers. School.