การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประกันคุณภาพ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

ณัฐพงษ์ พิมพ์ภักดี
สิทธิชัย สอนสุภี
กรองแก้ว กิ่งสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประกันคุณภาพสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ 2)เพื่อศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประกันคุณภาพสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 285 คน โดยระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.827 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น (PNIModified) ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประกันคุณภาพสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับน้อยและสภาพพึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความต้องการจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประกันคุณภาพสถานศึกษา เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ 1) การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ (PNIModified=1.26) 2) การรายงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (PNIModified=1.21) 3) การตรวจประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา (PNIModified=0.98 ) 4) การกำหนดมาตรฐานการศึกษา (PNIModified=0.81) และ 5) การวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา(PNIModified=0.79 )


แนวการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประกันคุณภาพสถานศึกษา ควรดำเนินการดังนี้ 1) ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาสถานศึกษาควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อผลลัพธ์ผู้เรียน 2) ด้านการวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ควรจัดระบบเก็บข้อมูลสารสนเทศดิจิทัลให้สะดวกต่อนำไปใช้ ปรับปรุงข้อมูลให้มีคุณภาพทันสมัย และกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลระบบจัดเก็บเอกสารสารสนเทศดิจิทัล 3) ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ ควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาสร้างวัฒนธรรมคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4) ด้านการรายงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรเปิดเผยข้อมูลรายงานผลการประเมินตนเองในรูปแบบสารสนเทศดิจิทัล นำสารสนเทศจากผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาระบบงานและคุณภาพสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล 5) ด้านการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ควรนำเสนอข้อมูลการประกันคุณภาพในรูปแบบสารสนเทศดิจิทัล นำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยผ่านระบบสารสนเทศดิจิทัล

Article Details

บท
Research Articles

References

พิชญาณี กาหลงและคณะ.(2563).แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย JOURNAL OF GRADUATE RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563)

ยุทธนา อินต๊ะวงค์ และ โสภา อำนวยรัตน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 1-15.

ลดารัตน์ ตั้งมั่น. (2564). การดำเนินงานคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุดา ป่วนเทียน. (2564). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สุภาวดี จันทร์ศิริ .(2563). การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 5(2), 61- 76.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ.(2565).สังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. บึงกาฬ:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2564). ระบบการประกันคุณภาพ

การศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2566). รายงานการวิเคราะห์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้รองรับการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ

หฤทัย สมศักดิ์และคณะ.(2565).การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร.

อนุสรา เหล็กคำ, หยกแก้ว กมลวรเดช, และ สุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2564). การพัฒนาคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2, Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 233-256.