การส่งเสริมครูเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

Main Article Content

จิรวิชญ์ บุญมั่น
เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมครูเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมครูเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมครูเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 345 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 1 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการส่งเสริมครูเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

  2. สภาพการส่งเสริมครูเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ตามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

  3. แนวการส่งเสริมครูเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตร ควรกำหนดแนวทางพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา โดยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ควรจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เทคนิควิธีการสอน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัยในการเรียนการสอน 3) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ควรส่งเสริมการประเมินผลตามสภาพจริง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย 4) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ควรมีระบบการนิเทศ กำกับดูแลและติดตามผลอย่างเป็นกัลยาณมิตรและต่อเนื่อง และ 5) ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ควรมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมศักยภาพครูอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรีรติกานต์ สุพรรณภูวงษ์. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2558.

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ, สำนักงาน. ข้อมูลสารสนเทศทาง การศึกษา ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี: คณะกรรมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ทางการศึกษา ปีการศึกษา2564, 2564.

จิราภา เพียรเจริญ. บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2556.

เชวง เพชรภา. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.

ธิดารัตน์ มาตย์สถิต. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูในสถานศึกษาอำเภอเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2559.

นรรัตน์ ฝันเชียร. เหตุผลที่ทำให้การสอนภาษาของไทยไปไม่ถึงดวงดาว. (ออนไลน์) 2563 (อ้างเมื่อ 20 เมษายน 2566) จาก: https://www.trueplookpanya.com/dhamma/ content/82999

มนต์ฤดี ถือสมบัติ. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรต, 2556.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: บริษัท จามจุรีโปรดักส์ จำกัด, 2557.

. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.

สมศักดิ์ สมมาคูณ. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2552.

สุภาพร ศรีสุระ. บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2557.

อังจิมา คงโอ. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, 2560.