โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่อิทธิพลต่อการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

วิณัฐธพัชร์ โพธิ์เพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่อิทธิพลต่อการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 330 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน ( Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  คุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.914 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) โดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า          1) โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่อิทธิพลต่อการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่พัฒนาขึ้นประประกอบด้วย โรงเรียนนวัตกรรม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม การเสริมพลังอำนาจทางจิตวิทยา ทุกตัวแปรมีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2)  โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่อิทธิพลต่อการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ ดังนี้   Chi-square = 101.611, df = 81, p-value = 0.0605, χ 2 /df = 1.2544,  CFI = 0.985, TLI = 0.981, RMSEA = 0.028, SRMR = 0.037  3) ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร (TL) โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.199 และ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของบุคลากร (IWB) มีขนาดอิทธิพล 0.678    4) ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร (TL) โดยมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการเสริมพลังอำนาจทางจิตวิทยา (PE)  และ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของบุคลากร (IWB)  มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.355 และ มีขนาดอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.554

Article Details

บท
Research Articles

References

ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 153-154.

ชลัดดา บุญมาก, สถิรพร เชาวน์ชัย. (2565). การศึกษาพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมและ แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. รายงานการค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธัญวรัตม์ สิงห์จู, & ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้การเป็นโรงเรียนนวัตกรรม: การบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการ. ครุศาสตร์สาร, 15(1), มกราคม-มิถุนายน. 219-234.

บรรณาพร คำสวัสดิ์. (2563). แบบจำลองพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม ของพนักงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีชา เริงสมุทร์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เครือข่ายการศึกษาบูรณาการอิสลามภาคใต้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย หาดใหญ่.

พรชัย กำหอม, วิชิต กำมันตะคุณ, & เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ. (2562). โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(3), 180-195.

วีระเดช มณีนพ. (2562). รูปแบบการพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนนวัตกรรม สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รวินท์นิภา สว่างโลก, & จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทุนทางจิตวิทยา และการเสริมสร้างพลังอำนาจทางจิตวิทยา ที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของพนักงาน. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(1), 1-15.

รัตน์สุดา พรมสุปัด และพิมพ์อร สดเอี่ยม. (2566) .ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 .วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10 (6) , มิถุนายน, 254-265.

“พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56ก. หน้า 102-120.

วิรันทร์ดา เสือจอย และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน (2564) .การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี.วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , 4(3) ,กันยายน – ธันวาคม. 1157-1171.

วีระศักดิ์ พลมณี. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15(1), มกราคม–มิถุนายน, 1779-1974.

วีระศักดิ์ พลมณี และวัลลภา อารีรัตน์. (2562). การศึกษารูปแบบการบริหารเพื่อสร้าง นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,15(1),36-50.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ :พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566) ออนไลน์. นโยบายและจุดเน้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก https://www.obec.go.th

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจศรา ประเสริฐสิน, เทพสุดา จิวตระกูล, จอย ทองกล่อมศรี. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 1-15.

Arslan, F. (2022). The mediating role of psychological empowerment on the relationship between innovative work behavior and transformational leadership in food and beverage employees: A research of five-star hotels in Antalya. Journal of Global Tourism and Technology Research, 3 (1), 68-83. https://doi.org/10.54493/jgttr.1064470

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership (pp. 2-6). Sage Publications.

Janssen, O. (2000). Job demands, perceptions of effort-reward fairness and innovative work behaviour. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 73(3), 287-302. https://doi.org/10.1348/096317900167038

Nasir, M., Halimatussakdiah, H., & Suryani, S. (2019). The effect of leadership style on employee performance through organizational commitment. International Journal of Business and Management, 14(5), 123-135. https://doi.org/10.5539/ijbm.v14n5p123

Nguyen, A. T., Le, T. T., Trinh, H. Q., & Do, Q. H. (2019). The impact of social media marketing on consumer behavior. Journal of Marketing Research, 22(4), 45-60. https://doi.org/10.1016/j.jmr.2019.03.001

Pieterse, A. N., Van Knippenberg, D., Schippers, M., & Stam, D. (2010). Transformational and transactional leadership and innovative behavior: The moderating role of psychological empowerment. Journal of Organizational Behavior, 31(4), 609-623. ttps://doi.org/10.1002/job.650

Sagnak, M., Kuruoz, M., Polat, B., & Soylu, A. (2015). The role of transformational leadership and knowledge management processes on the performance of teachers. Educational Sciences: Theory & Practice, 15(6), 1551-1560. https://doi.org/10.12738/estp.2015.6.0101