การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านกีฬาวอลเลย์บอล โรงเรียนสตรีพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง 2) ประเมินการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล 3) ประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงหลังการอบรม 4) ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณได้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลของโรงเรียน จำนวน 16 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน ครู 5 คน และนักเรียน 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมานเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนสตรีพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลลัพธ์ รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้ ด้านปฏิกิริยา และด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ด้านผลลัพธ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านกีฬาวอลเลย์บอลมีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ด้านการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติและกติกาวอลเลย์บอลมากขึ้น ด้านปฏิกิริยามีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมการอบรม และด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือนักเรียนสามารถเล่นลูกสองมือล่างได้อย่างถูกต้อง
- แนวทางการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนสตรีพัทลุง คือ กิจกรรมนันทนาการเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นักกีฬาที่สามารถคว้ารางวัลทั้งระดับภาคและระดับประเทศสู่โรงเรียน และผู้บริหารควรสนับสนุนจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าร่วมพัฒนาและเข้าร่วมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาหรือโรงเรียนอื่นๆที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อได้พัฒนาต่อยอดสู่ความเป็นเลิศต่อไป
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551.กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาต. (2531). หลักและเทคนิคการฝึกอบรมและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สยามศิลป์การพิมพ์.
ชนินทร์ ยุกตะนันท์ และคณะ. (2547).วอลเลย์บอล. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์.(2545) หนังสือส่งเสริมความรู้สำหรับครูและนักเรียน เรื่อง วอลเลย์บอล. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2554) การจัดประชุมและการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ
กรุงเทพฯ : บุคส์พัส.
วีระพงษ์ นางท่าไม้. (2545) หนังสือเสริมความรู้สำหรับครูและนักเรียน เรื่อง วอลเลย์บอล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อภิศักดิ์ ขำสุข. (2544). การฝึกวอลเลย์บอล 2000.กรุงเทพ : รั้วเขียว
อมรพงศ์ สุธรรมรักษ์.(2546). วอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
อุทัย สงวนพงศ์. (2534). คู่มือวอลเลย์บอล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
เอกรินทร์ สี่มหาศาลและคณะ.(2550).สุขศึกษาและพลศึกษา 5 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.