การพัฒนาโมเดลการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยโดยใช้สุนทรียแสวงหาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1

Main Article Content

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์
กฤษดา ผ่องพิทยา
อัจฉรา ผ่องพิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพสมรรถนะด้านการวิจัยโดยใช้สุนทรียแสวงหาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 (2) พัฒนาโมเดลการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยโดยใช้สุนทรียแสวงหาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 และ (3) สร้างคู่มือการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยโดยใช้สุนทรียแสวงหาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 คณะผู้วิจัยใช้แนวคิดสุนทรียแสวงหามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการวิจัยกับ 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดกลาง โดยแต่ละโรงเรียนดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างสมรรถนะด้านการวิจัย และระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดลสมรรถนะด้านการวิจัย ซึ่งแต่ละระยะมีกระบวนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนของสุนทรียแสวงหา ประกอบด้วย 1) การค้นหา (Discovery) 2) การสร้างฝัน (Dream) 3) การออกแบบ (Design) และ 4) การทำให้ถึงเป้าหมาย (Destiny) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพสมรรถนะด้านการวิจัยโดยใช้สุนทรียแสวงหาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ประกอบด้วย 5 สมรรถนะหลัก คือ 1) ด้านทักษะ 2) ด้านความรู้ 3) ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง 4) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 5) ด้านแรงจูงใจ ซึ่งผู้วิจัยนำมาพัฒนาทั้งสิ้น 16 สมรรถนะย่อย

  2. โมเดลการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยโดยใช้สุนทรียแสวงหาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ (GEAR Model) คือ 1) ร่วมตั้งเป้าหมาย (Goal setting) 2) ค้นหาประสบการณ์ (Esteem experiences) 3) คัดเลือกแนวทางที่ดี (Alternative selections) และ 4) สะท้อนผลการเรียนรู้ (Reflections on learning outcomes)

  3. ผลสร้างคู่มือโมเดลการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยโดยใช้สุนทรียแสวงหาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่อง 2) เป้าหมาย 3) วัตถุประสงค์ 4) ประโยชน์ 5) ผู้ใช้งานคู่มือ 6) สื่อ อุปกรณ์และสถานที่ 7) บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 8) แนวคิดสำคัญ 9) กระบวนการขับเคลื่อน และ 10) กิจกรรมหลักและรายละเอียด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

กฤษดา ผ่องพิทยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร., สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อัจฉรา ผ่องพิทยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อาจารย์, ดร., สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร:

คุรุสภาลาดพร้าว

เกตุฤดี ราชไชยา. (2562). การสืบสอบแบบชื่นชมด้านการจัดโอกาสการเรียนรูข้องพ่อแม่สำหรับผู้เรียน: โมเดลเสนอแนะจากการปฏิบัติที่ดีที่สุดของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติญารัตน์ มีไมตรีจิตต์. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พิรดา ธุระเจน. (2560). การวิจัยและพัฒนากระบวนการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของความมุ่งมั่นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราพร เกษสังข์. (2564). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริวัตร เปลี่ยนศิริ. (2565). การประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกเพื่อพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษณ์และองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิทักษ์ โสตถยาคม. (2565). การวิจัยและพัฒนาครูผู้นำการเรียนการสอนโดยใช้สุนทรียแสวงหาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันทนา ปทุมอนันต์. (2564). การพัฒนาโมเดลการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธกเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(3), 857-70.

ศุภิสรา หวังดี. (2563). การประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกเพื่อพัฒนาความผูกพันในองค์กร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(2), 17-38.

สรรกมล กรนุ่ม, ประทีป จินงี่ และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมที่มีต่อพฤติกรรมการคบเพื่อนต่างเพศอย่างมีวิจารณญาณของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 26(1), 102-122.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2567). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิริกร โตสติ. (2562). การสร้างเสริมการรู้จักตนเองเพื่อการพัฒนาตนเองของนักเรียนโดยใช้กระบวนการสืบสอบและการประเมินแบบชื่นชม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cockell, J., & McArthur-Blair, J. (2022). Appreciative inquiry in higher education: A transformative force. San Francisco: Jossey-Bass.

Cooperrider, D.L., Whitney, D., & Stavros, J. (2013). Appreciative inquiry handbook: The first in a series of AI workbooks for leaders of change. San Francisco: Berrett-Koehler.

Hummel, C.D. (2017). Using appreciative inquiry to describe and create teacher peak experiences: A case study of elementary school teachers. A Dissertation College of Education and the faculty of the Graduate School of Wichita State University in partial fulfillment of the requirements for the degree of Doctor of Education. Wichita State University, Kansas.

Jansen, C., Cammock, P., & Conner, L. (2020). School as Learning Communities? Leadership through Appreciative Inquiry. Retrieved on October 23, 2023, from http://ir.canterbury.ac.nz/bitstream/10092/5313/1/12624129_Schools%20as%20learning%20Communities.pdf

Kavanagh, T., Stevens, B., Seers, K., Sidani, S., & Watt-Watson, J. (2020). Process evaluation of appreciative inquiry to translate pain management evidence into pediatric nursing practice. Implementation Science. Retrieved on October 6, 2023, from http://www.implementationscience.com/content/5/1/90

Kolb, D.A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. NJ: Prentice-Hall.

Suksunai, D., Wiratchai, N., & Khemmani, T. (2021). Effects of motivational psychology characteristic factors on teachers’ classroom action research performance. Research in Higher Education Journal, 52(10), 1-12.

Trajkovski & et al. (2018). Using appreciative inquiry to transform health care. Contemporary Nurse, 45(1), 95-100.

Wood, K.D. (2017). Experiences of transformative learning in the appreciative inquiry event. Dissertation Abstracts International, 68(02).