การศึกษาการโอนย้ายของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการโอนย้ายของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดมหาสารคาม ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่โอนย้าย จำนวน 346 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ .911 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่่า
บุคลากรส่วนใหญ่มีเหตุผลสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจในการโอนย้ายมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย ลักษณะงานที่ปฏิบัติและความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลการคงอยู่กับองค์กรของบุคลากร สภาพแวดล้อมในการทำงานและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน รวมไปถึง ค่าตอบแทน
บุคลากรส่วนใหญ่ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ควรมีการพัฒนากรอบอัตรากำลังที่ชัดเจน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในบางพื้นที่ และรวมไปถึงการลดภาระงานที่ซ้ำซ้อนของบุคลากรลง องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ควรมีการจัดหาและสนับสนุนครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น และมีมาตรฐานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จัดสรรงบประมาณให้กับทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการยกระดับด้านโครงสร้าง การบริการ และบุคลากร รวมไปถึงมีความมุ่งหวังที่จะได้รับค่าตอบแทนและสิทธิสวัสดิการอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นจากการโอนย้ายมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
Article Details
References
กมลวรรณ สุรวินัยบดี. (2546). ความคิดเห็นของเจ้าหน้าสถานีอนามัยที่มีต่อการถ่ายโอนภารกิจ
ของรัฐด้านสาธารณสุขให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณี อำเภอบ้านบึง
จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ผดุงชัย เคียนทอง. (2551). การถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :
การกระจายอำนาจตามนโยบายหลักประกันสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565. จาก
http://www.stabundamrong.go.th/web/journal/j27.
ราชกิจจานุเบกษา. (19 ตุลาคม 2564). ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัย
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. ราชกิจจานุเบกษา, 138(ตอนพิเศษ 254 ง), 14.
วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. (2552). ความพึงพอใจและผลกระทบภายหลังการถ่ายโอนบุคลากร
สาธารณสุขให้แก่องค์กรบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2560). จนถึงปี 2559 โอน รพ.สต. ให้ท้องถิ่นไม่คืบ.
สืบค้นเมื่อ12 สิงหาคม 2565. จาก https://www.tcijthai.com/news/2017
/10/scoop/7326.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2544). การกระจายอำนาจพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม
จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/journal/j2.
สมยศ แสงมะโน. (2556). ปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพประจำตำบล จาก
กระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์
ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.