รูปแบบการสื่อสารในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับรูปแบบการสื่อสารในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู 3) ศึกษารูปแบบการสื่อสารในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูจำนวน 357 คน ที่ได้มาจากสุ่มการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบเกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารในสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.956 และ 0.965 ตามลำดับ สถิติการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก 3) รูปแบบการสื่อสารในสถานศึกษาส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยรูปแบบการสื่อสารในสถานศึกษาสามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูได้ร้อยละ 55.9 (มีค่า R2 = .559) ซึ่งรูปแบบการสื่อสารด้านล่างขึ้นสู่บนส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูมากที่สุด และรูปแบบการสื่อสารแบบสุ่มมีความสัมพันธ์เชิงลบกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครู
Article Details
References
กนกพร ทองดอนใหม่ และมาริษา สุจิตวนิช. (2564). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท เจเคเอ็น แชนเนล จำกัด. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 8 – 9 กรกฎาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, หน้า 1530-1541. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
จุติพร จินาพันธ์ และสฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2560). แรงจูงใจของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. ศึกษาศาสตร์, 28(2), 267-283.
ณฐอร กีรติลาภิน. (2560). รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์การ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2553). การสื่อสารในองค์การ(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนพรรษ อนุเวช. (2564). แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีร ชัยสุทธิ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสาร ความพึงพอใจต่อการสื่อสารและประสิทธิผลของการสื่อสารภายในองค์กร ของผู้ปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤมาศ ศาลาคาม และรัตนา กาจญนพันธุ์. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตห้วยขวาง สังกัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Keansarn Academic, 6(3), 42-55.
พัชรี พันธุ์แตงไทย. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พนิดา เกรียงทวีทรัพย์ และสุรมงคล นิ่มจิตต์. (2561). รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร: กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลป, 11(3), 3374-3394.
พฤฑฒิพล พฤฑฒิกุล และภารวี อนันต์นาวี. (2557). รูปแบบการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดขนาดใหญ่พิเศษที่ประสบความสำเร็จสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 138-150.
พิเชษฐ์ สร้อยทอง วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และมณฑป ไชยชิต. (2561). บรรยากาศองค์การและแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. การบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 63-80.
มานพ ชูนิล. (2561). ผลของการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการที่มีต่อความสุขในที่ทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 39(3), 611-622.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2561). จิตวิทยาองค์การ:Organizational Psychology. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งรัตน์ พุทธพงษ์ (2559). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตวัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วราพร เนืองนันท์. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สหวิทยาเขตนวลจันทร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Keansarn Academic, 6(6), 114-125.
ศิริเพ็ญ วินิจรักษา. (2560). รูปแบบการสื่อสารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร กรณีศึกษาบริษัท A ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สมชาย วรกิจเกษมสุข. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2) อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 5 ปี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 พ.ศ.2566–2570. สืบค้นจาก https://eoffice.sesao1.go.th
เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรสา สภาพพงษ์. (2563). การสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. สังคมศาสตร์, 9(2), 119-127.
Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B. B. (1993). The Motivation to Work. United States: Transaction Publishers.
Koch, T. & Denner, N. (2021). Informal communication in organizations: work time wasted at the watercooler or crucial exchange among co-worker. Journal of Corporate Communications: An International Journal, 26(4), https://doi.org/10.1108/CCIJ-11-2020-0160
Pramastianingdyah, A. & Sinduwiatmo, K.(2021).The Role of Organizational Communication Pattern in Motivating Employee: A Study of A small Manufacturing Company in Indonesia, 2nd Virtual Conference on Social Science In Law, Political Issue and Economic Development on 15 December 2021. (p. 238 – 246).
Romadhoni, M. & Alfikri, M. (2022). Organizational Communication Patterns in Increasing Work Motivation of Employees of PT. Inalum. Humanities and Social Sciences Innovation, 2(3), 366-372. doi.org/10.35877/454RI.daengku970