ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1

Main Article Content

ยุทธชาต นาห่อม
ธดา สิทธิ์ธาดา

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพม.กท.1 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัด สพม.กท.1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจของครูในสถานศึกษาสังกัด สพม.กท.1 4) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัด สพม.กท.1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สพม.กท.1  จำนวน 59 แห่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือหัวหน้าฝ่ายบุคคล และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่     ในระดับมาก 2) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครูได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ และ       ด้านความเป็นปัจเจกบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ คือ ควรนำทั้ง 4 ด้าน       ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ไปใช้ในการพัฒนาการบริหารงานสถานศึกษาใน     ทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการทำงาน เป็นองค์กรแห่งความสุข

Article Details

บท
Research Articles

References

นลิน ศรพรหม. (2550). รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ. (ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://wwwftpior.th/FTDiWebdmin/knwpworld/imgeconten/55/Leadership.

บุษกร วัชรศรีโรจน์. (2548). การบริหารความเปลี่ยนแปลง, กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

เรวดี ซ้อนเพชร. (2556). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับงานบริหารวิชาการ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. วารสารการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 4 ฉบับที่1 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556.

สมหวัง วิทยปัญญานนท์. (2548). การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง สืบค้น จากhttp://www.budmgt.com/topics/top01/change-conflicts-mgt.htmal.

สุคณางค์ อารยพัฒน์มงคล. (2562). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า ปีที่6 ฉบับที่1 มกราคม 2562.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 พ.ศ.2563–2565. กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston : Houghton Mifflin.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill.