แนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ 2) ออกแบบและประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยและออกแบบ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) คือ การศึกษาองค์ประกอบ และออกแบบแนวทาง ของกลุ่มตัวอย่างจากสถานศึกษาที่เป็นที่ยอมรับและเป็นแบบวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมจำนวน 6 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ การวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินแนวทาง เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ของแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม 2) ด้านผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และ 3) ด้านการมีส่วนร่วม 4) ด้านการประกันคุณภาพ 5) ด้านการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 6) ด้านการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมขององค์ประกอบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ออกแบบและประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ได้ทั้งหมด 6 ด้าน 50 แนวทาง และประเมินแนวทางที่ได้จากการออกแบบได้ผลว่า ด้านความเหมาะสมมีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แนวทางพัฒนา“โรงเรียนคุณภาพ”ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.moe.go.th/360guidelines-developing-quality.
กิตติพงษ์ ลาญาติ. (2565 : 121 -123). แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จามจุรี จาเมือง และคณะ. (2550). คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ : ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
จักรพันธ์ แก้วพันธ์ และ พิภพ วชังเงิน. (2566). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 19-35.
จิราพร เครือแวงมน. (2562: 138- 139). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทนงศักดิ์ โพธิ์เกต. (2563). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียน
บ้านดอน แยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 34 - 51.
ทิวัตถ์ ศรีดํารงค์. (2556). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(18), 52-60.
นฤมล มณีแดง และ สมใจ สืบเสาะ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 172-187.
บุญส่ง องอาจ. (2565). องค์ประกอบของโรงเรียนคุณภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นโรงเรียนคุณภาพสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กของรัฐ. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(46), 549.
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). (2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสำนักเขตราชเทวี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำรุง จันทรวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่...โรงเรียนคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค. 13 -14.
Chamnong, T. (2007). Factors Affecting Success in School Management, Quality of Schools Under the Bangkok Metropolitan Administration[Master’s Thesis, Thepsatri Rajabhat University.
Chantavanich, A. (2004). Guidelines on the Best Practice for Quality Schools. Office of the Education Council, Ministry of Education. 138. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/138-file.pdf
Purkey, S.C. (1983). Effective Schools : A Review. Elementary School Journal. Quoted in Wayne K Hoy, and Cecil G Miskel. Educational administration : Theory,Research, and Practice. 6th ed. New York : McGraw-Hill.