การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องความร้อนและแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องความร้อนและแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องความร้อนและแก๊ส กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (แผนการเรียนวิทย์-คณิต) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องความร้อนและแก๊ส จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องความร้อนและแก๊ส มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องความร้อนและแก๊ส โดยใช้เทคนิค KWDL จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของประชากร (μ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร (σ) วิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องความร้อนและแก๊ส หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL (μ = 45.58, σ = 7.34) สูงกว่าก่อนเรียน (μ =13.16, σ =1.73) 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แสดงความคิดเห็นเชิงบวกไปในทิศทางเดียวกันว่า รู้สึกชอบและสนุกกับการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL และเป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการเรียนเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์
Article Details
References
จิตรลัดดา นุ่นสกุล. (2555). ครูในอนาคตแห่งศตวรรษที 21. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/post/492081.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นรินช์ณัฏฐ์ ตระหง่าน และอัญชลี ทองเอม. (2558). การศึกษาการใช้ KWDL เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
ปารวัณ เหง้าโคกงาม และธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคำนวณ เรื่องปริมาณสัมพันธ์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบการสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ชัยภูมิ.
ภัทรมนัส ศรีตระกูล. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ (PISA) ของประเทศไทย. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 213-227.
วิจารณ์ พานิช และปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร. (2563). การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก. มูลนิธิสยามกัมมาจล: กรุงเทพฯ.
วุฒินันท์ คำด่อน และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ฟิสิกส์ เรื่อง สมดุลกล โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค การสอนแบบ KWDL ร่วมกับแผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2556). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (สสวท.). 2566. ผลการประเมิน PISA 2015-2022 ในระดับนานาชาติ. ข่าวสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์. และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th
สุระ วุฒิพรหม และนัชชา แดงงาม. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบาย ร่วมกับการสาธิตอย่างง่ายต่อความคิดรวบยอดเรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุน. ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
เสฏฐวุฒิ มุลอามาตย์. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์โดยใช้ชุดการเรียนตามแนวอริยสัจ 4. สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
อำภาพงษ์ มังคละ. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนรู้ แบบ K-W-D-L และการเรียนรู้ แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
อุไรวรรณ ภัยชิต. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโมเมนตัมและการชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
Adadan, E., Irving, K. E., & Trundle, K. C. (2009). Impacts of multi-representational instruction on high school students’ conceptual understandings of the particulate nature of matter”. International journal of science education. 31(13), 1743-1775.
Adams, Sam, Leslie C. Ellis and B. F. Beeson. (1977). Teaching Mathematics with Emphasis on the Diagnostic Approach. New York: Harper & Row.
Metallidou, P. (2009). Pre-service and in-service teachers’ metacognitive knowledge about problem solving strategies. Teaching and Teacher Education, 25, 76-82.
Ogle, D. M. (1986). K-W-L: A teaching model that develops active reading of expository text. The Reading Teacher, 39(6), 564-570.
Shaw, J. M., Chambless, M. S., Chessin, D. A., Price, V. & Beardain, G. (1997). Cooperative Problem-solving Using K-W-D-L as Organization Technique.
Teaching Children Mathematics, 3(5), 482-486.