องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

ศุภเชรษฐ์ ไตรยราช
ธราเทพ เตมีรักษ์
วันเพ็ญ นันทะศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 11 แหล่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้สถิติความถี่และร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ ใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 27 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความยืดหยุ่น ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ 2) การมีวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ 3) การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ และ 4) ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 8 ตัวบ่งชี้ โดยทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และตัวบ่งชี้ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม, 2567, จาก กระทรวงศึกษาธิการ : https://www.moe.go.th/vision/

ก่องเกียรติ รักษ์ธรรม.(2555) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จันจิรา น้ำขาว. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตติภูมิ เทพคำ. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ณณัฐ ช่วยงาน. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรวีนัส ไวยกรรณ์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพ์ศนิตา จึงสุทธิวงษ์. (2563). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักวิชาการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภาสุณีย์ คำพันธ์. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาธุสรณ์ ใจแน่น. (2565).ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศพหุกรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มาลัยรัตน์ เพ็งประสิทธิพงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

วิจิตรา จาบวิจิตร. (2565).แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศมพรัตว์ เจ๊ะบ่าว. (2566).ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในระบบ สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561 - 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภาดา เสาเสนา. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2.วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี, 6(1), 2564–2574

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนุสรณ์ สุทธหลวง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อิบตีซาม เจะหะ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Omeed, M, I. (2023). The effect of creative leadership on human resources agility a surveystudy of employee perceptions in colleges institutes at Duhok polytechnic university. Research gate, 18(2), 2121-2138

Ubeben, G, C., Hughes, L, W., and Norris, C, J. (2011). The Principal Creative Leadership for Excellence in schools. Boston: Pearson.

Victor, S, S. (2015). Reflections on Creative Leadership. international Journal of Global Business, 8 (1), 1-14