การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นนวัตกรของครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นนวัตกรของครูในโรงเรียน การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 11 แหล่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเคราะห์องค์ประกอบความเป็นนวัตกรของครูในโรงเรียน ใช้สถิติความถี่และร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของความเป็นนวัตกรของครูในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ ใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นนวัตกรของครูในโรงเรียน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) การสังเกต ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ (2) การการตั้งคำถาม ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ (3) การสร้างเครือข่าย ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ (4) การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ (5) การทดลอง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ (5) การเชื่อมโยง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ โดยทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและระดับมากที่สุด และตัวบ่งชี้ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
โกศล ภูศรี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิพย์สุคนธ์ สมรูป, บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์ และวัลลภา อารีรัตน์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่าง บทบาทผู้บริหาร สถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับครูนักนวัตกร. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นวพร ชลารักษ์. (2564). องค์ประกอบความเป็นครูนักนวัตกรในการศึกษายุคดิจิทัลเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิรัชชา ปุคลิต. (2565) ผลการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 : การวิจัยผสมผสานวิธีการแบบการทดลอง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยนันต์ คล้ายจันทร์. (2565). รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นนวัตกรสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาลัย/ครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต.
พิมพ์ชนก หงษาวดี เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2565). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มลธิชา กลางณรงค์ และนันทรัตน์ เจริญกุล (2562). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนเลิศหล้า สาขาถนนเกษตร-นวมินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของครู นวัตกร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2566). สร้างนวัตกรเพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 281-300.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dyer. (2011). The Innovator's DNA. Boston : Harvard Business Press.
Wagner, T. (2012). Creating Innovators : The Making of Young People Who Will Change the World. New York : Scribner.