ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วิสสุตา หมื่นตื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประชากรคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนบ้านผาหมี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และทดสอบความเชื่อมั่น โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัยทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอนุมาน ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test หรือ One-way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว โดยรวมทุกด้าน พบว่า ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัจจัยด้านเพศต่างกัน มีผลต่อพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวและด้านที่พักแตกต่างกัน ปัจจัยด้านอายุต่างกัน มีผลต่อพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงและด้านที่พักแตกต่างกัน และปัจจัยด้านรายได้ต่างกัน มีผลต่อพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2567. (ออนไลน์) ได้จาก : https://www.mots.go.th/news/category/760 สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). Thailand Tourism Product Strategy 2024 – 2025. (ออนไลน์) ได้จาก : https://tourismproduct.tourismthailand.org/2024/01/30/thailand-tourism-product-strategy-2024-2025-final-report/. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567.

ชุติมา วุฒิศิลป์ และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(2), 2066-2079

ทักษญา เปรมชุติวัต. (2561). ปัจจัยด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการกลับมาเที่ยวซ้ำยังแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา. คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). เทรนด์ท่องเที่ยวในปี 2567 คนไทยมีแนวโน้มเดินทางด้วยงบจำกัด และรักความยั่งยืนมากขึ้น. (ออนไลน์) ได้จาก : https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/2739617. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567.

ณหทัย มุขดีสุทธวัฒน์. (2564). ความคาดหวังและการรับรู้ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมายังพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เทศบาลตำบลเวียงพางคำ. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลเวียงพางคำ พ.ศ. 2566 – 2570. (ออนไลน์) ได้จาก : https://www.wpk.go.th/project-detail?hd=7&id=1263. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567.

พงษ์พิพัฒน์ เสน่ห์ดี. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการล่องเรือสำราญท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 7(2), 44-54

เพียงใจ คงพันธ์ และภัทราวรรณ วังบุญคง (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาศูนย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 12(1), 15-29.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว (CTRD). (2566). สถิตินักท่องเที่ยว ปี 2566 “จังหวัดเชียงราย”. (ออนไลน์) ได้จาก : https://www.facebook.com/photo.

php?fbid=722561156651726&id=100066935432873&set=a.64236936

สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567.

แสงรวี เกตุสุวรรณ. (2563). องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัญชลี ศรีเกตุ. (2565). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่วิถีที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(2), 270-279.

องค์การพัฒนาพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน. (2566). สัมผัสและเรียนรู้วิถีอาข่า นั่งจิบกาแฟ ลิ้มรสอาหารชาวชาติพันธุ์ ที่บ้านผาหมี. (ออนไลน์) ได้จาก : https://www.dasta.or.th/th/article/2981. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567.