การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อ
ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชารัฐสามัคคี กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาวารินชำราบ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี
เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1) ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และ 3) แบบสอบถามความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 85.50/84.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษระดับมาก
Article Details
References
กนกวรรณ รอดคุ้ม. ผลการใช้เกมที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557.
กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาวารินชำราบ 5. รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
โรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาวารินชำราบ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. อุบลราชธานี: กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาวารินชำราบ 5,
การศึกษา, สำนัก. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย, 2559.
เกศรินทร์ สุนันต๊ะ, อารีย์ ปรีดีกุล และวิราพร พงศ์อาจารย์. “การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
แบบโครงงานเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560), 106.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.
แคทลียา ใจมูล. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยล้านยาววิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2549.
จิรนันท์ กุญชะโมรินทร์. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์
ภาษาอังกฤษ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบเกม ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2558.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การสร้างชุดการสอน. (ออนไลน์) 2556 (อ้างเมื่อ 2 มิถุนายน 2565).
จาก www.inno-swake.blogspot.com.
ดาริน ทองแรง. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ประกอบภาพการ์ตูนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2557.
ดุษฎี นาหาร. การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบ SQ3R. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, สถาบัน. สรุปผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ปีการศึกษา 2564. (ออนไลน์) 2565 (อ้างเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566).
จาก www.onetresult.niets.or.th.
ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, สถาบัน. สรุปผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ปีการศึกษา 2565. (ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566).
จาก www.onetresult.niets.or.th.
นพรัตน์ ทองมาก. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่อง ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
โดยใช้รูปแบบปฏิบัติเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2558.
บุญจิราภรณ์ จีนโน. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2558.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2560.
วัลลภ ใหญ่เลิศ. การพัฒนาสื่อประสมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษโดยการเรียนแบบแบ่ง
กลุ่มสัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2556.
วิชาการ, กรม. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ:
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2551.
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551.
โศภิตา เสนาธรรม. การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 9-12.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.
Ediger, A. Teaching Children Literacy Skill in A Second Language. Massachusetts:
Heinle & Heinle Pulishers, 2001.
Grabe, W. and Stoller, F. L. Reading for Academic Purposes: Guidelines for the
ESL/EFL Teacher. Massachusetts: Heinle & Heinle Pulishers, 2001.
Slavin, R. E. Cooperative Learning: Research and Practices. Massachusetts
Practice-Hall, 1995.