ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยมีประชากร คือ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนา รองลงมาคือ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีภาวะผู้นำร่วม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การมีความใฝ่เรียนรู้ รองลงมาคือ การทำงานเป็นทีมและการมีภาวะผู้นำร่วม การใช้เทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนา และการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามลำดับ
Article Details
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร:พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ซิมพ์สัน ป., ภาวะบุตร ไ., & ดวงชาทม ส. (2024). The Development of Informal Education of Opportunity Foundation, Nangrong District, Buriram Province. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(1), 1–20. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.1
อินแปลง อบอุ่น. (2559). ภาวะผู้นำโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จุลศักดิ์ ก๊อกพิมพ์. (2561). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครูที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22: การวิเคราะห์พหุระดับ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรพงษ์ แสงสีมุข. (2564). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของกลุ่มโรงเรียนช่องแคบ-คีรีราษฎร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. มหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 21. https://so03.tcithaijo.org/index.php/JMND/article/view/256934
พานซ้าย, ศ., & วรรณศรี, จ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1),90103. https://so01.tcithaijo.org/index.php/cmujedu/ article/view/241302
สนลอย, อ., & ตู้จินดา, อ. (2565). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ สถาบันการพัฒนาพระวิทยากร, ปีที่ 5 ฉบับที่ 1.
สมปราชญ์, ก. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 34(12).
ภัทรสุดา ธีรชาญวิทย์, ว. ก. แ., & ยอดสละ, ศ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565), ปีที่ 7 ฉบับที่ 2.
เทพแสง, ส., ประจงจิตร, ส., สุขรัตน์, ค., ลังกะสูตร, พ., & เทพแสง, อ. (2566). การคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน. ศึกษาศาสตร์ มมร, 11(2), 301-315. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/269810
จิรวัฒน์ วงษ์คง. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตของผู้เรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(1), 102-115.
ปราณี มาแสวง. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 5(1), 57-66.
MacBeath, J. (2019). Leadership for Learning. In: Townsend, T. (eds) Instructional Leadership and Leadership for Learning in Schools. Palgrave Studies on Leadership and Learning in Teacher Education. Palgrave Macmillan, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-23736-3_3
Leithwood, K. and Jantzi, D. (2000), "The effects of transformational leadership on organizational conditions and student engagement with school", Journal of Educational Administration, Vol. 38 No. 2, pp. 112-129. https://doi.org/10.1108/09578230010320064
Aphaiso, P. (2014). The Transformational Leadership Development Program for School Administrators at Aiming to the Learning Organization of Schools under the Primary Educational Service Area Office, Nakhon Phanom Province. Master of Education (Educational Administration).SakonNakhon Rajabhat University.
Hallinger, P. (2009, September). Leadership for the 21st century schools: From instructional leadership to leadership for learning. Paper presented at the Chair Professors: Public Lecture Series, The Hong Kong Institute of Education, China.
Ahn, J., Bowers, A. J., & Welton, A. D. (2021). Leadership for learning as an organization-wide practice: evidence on its multilevel structure and implications for educational leadership practice and research. International Journal of Leadership in Education, 1-52. https://doi.org/10.1080/13603124.2021.1972162
Townsend, T., & Bayetto, A. (2022). Reaching Out From Tasmanian Schools: Leadership For Learning to Support Family and Community Engagement to Improve Reading. Leadership and Policy in Schools, 21(3), 458-482. https://doi.org/10.1080/15700763.2020.1777435