การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

Main Article Content

ประดิษฐ์ จันทมูลตรี
ธันย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย
สุรชัย พ่วงชูศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และเปรียบเทียบกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปปรับปรุง แก้ไขปัญหาข้อกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากบทความวิจัย บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานภาครัฐ เกี่ยวกับข้อกฎหมาย นโยบายการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามคำสั่งแต่งตั้งและของรัฐบาล ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายและนโยบายต่างๆ ที่นำมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่าปัญหาที่พบจากการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ได้แก่ 1) มิได้กำหนดนิยามคำศัพท์ว่า “สแปม” มีความหมายอย่างไร เพียงแต่กำหนดประเภทของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ 2 ประเภท คือ 1. จดหมายทางความสัมพันธ์ หรือทางธุรกรรม 2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพาณิชย์ 2) การตีความและการบังคับใช้กฎหมายกรณีการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ต้องห้าม ตามมาตรา 14 มีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกัน โดยการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตามอนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Convention on Cybercrime) นั้น การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบ (Input) เป็นการกระทำหนึ่งในองค์ประกอบความผิด แต่กฎหมายไม่เน้นองค์ประกอบเชิงเนื้อหาของข้อมูล (Content) มุ่งเน้นเอาผิดการกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลเท็จในมิติอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแสวงประโยชน์ทางทรัพย์สิน ซึ่งประเทศไทยมีการกำหนดเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้หากมีการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จและน่าจะเกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ แต่กฎหมายก็มิได้กำหนดคำจำกัดความนิยามของถ้อยคำที่เป็นองค์ประกอบของความผิดไว้อย่างไร จึงทำให้เกิดการตีความไปในทางที่ต่างกันของผู้บังคับใช้กฎหมาย

Article Details

บท
Research Articles

References

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี. (2566). รายงานสถิติการ

หลอกลวงทางออนไลน์ที่ผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจ

แห่งชาติ.

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี. (2564). สถิติ

การเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชนในปี พ.ศ. 2564. กองบัญชาการ

ตำรวจสอบสวนกลาง, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

กัลยา ชินาธิวร (2562). ปัจจัยความสำเร็จของสิงคโปร์ กรณีศึกษาเพื่อประกอบการพัฒนาแนว

ทางการดำเนินการตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย,

รายงานการศึกษาส่วนบุคคล, กระทรวงการต่างประเทศ

นัทธมน เพชรกล้า. (2562). การศึกษาสถานการณ์ของอาชญากรรมไซเบอร์ในประเทศไทย.

โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 11. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริม

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.

นันทวดี คาดคะเน (2561). ปัญหาในการปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ภายใต้กฎหมายระหว่าง

ประเทศ.วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

พระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2561). ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์.