ความต้องการจำเป็นของกระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒

Main Article Content

ปริษา ไกยสวน
ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของกระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ  สตรีวิทยา ๒  และ  2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของกระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ  สตรีวิทยา ๒  ประชากร คือ ครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ  สตรีวิทยา ๒ ทั้งหมด จำนวน 122  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )  และค่าดัชนีความต้องการ PNI (Priority Needs Index)


 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของกระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒  สภาพปัจจุบัน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนการนิเทศ 2) ด้านการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ 3) ด้านการปฏิบัติการนิเทศการสอน 4) ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือ  และ 5) ด้านการประเมินผลและรายงานผล  ส่วนสภาพพึงประสงค์ พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนการนิเทศ 2) ด้านการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ 3) ด้านการปฏิบัติการนิเทศการสอน 4) ด้านการประเมินผลและรายงานผล และ 5) ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือ 

  1. การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของกระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ  สตรีวิทยา ๒  พบว่าประเด็นที่มีความต้องการจำเป็น  3 ลำดับแรก  โดยเรียงลำดับค่าดัชนีความต้องการ ดังนี้คือ ด้านการวางแผนการนิเทศ  ด้านการประเมินผลและรายงานผล  และด้านการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ  ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กําชัย ยุกติชาติ. (2564). การดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จริยาภรณ์ เรืองแสง. (2561). แนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 3(6). 1-13

จิตติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ

ชุติมา คูณมา. (2556). การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาอำนาจเจริญ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี

นัทธมน สงทอง. (2566). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของกลุ่มโรงเรียนไตรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(7). 334-346

ภีชาวิชญ์ ยางงาม. (2564). กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.

อนุพงษ์ ตาบสกุล. (2565). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุศิษฏ์ นากแก้ว. (2564). การนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของ

โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(8), 85-96.

อัมพรกัญ บัวครอง. (2553) “การนิเทศการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2.” บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร,

อิสรนันท์ ศิโรรัตนพาณิชย์. (2559) “การนิเทศในโรงเรียนสกลวิทยา.” บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

ปีการศึกษา 2565. 4

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

ปีการศึกษา 2566. 5