การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการฟังภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดย
ใช้นิทานภาษาอังกฤษร่วมกับแบบฝึกทักษะระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจทีมีต่อ
การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษร่วมกับแบบฝึกทักษะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอจุฬาภรณ์ สำนักนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ทั้งหมด 18 โรงเรียน จำนวน 249 คน
โดยแต่ละโรงเรียนมีจำนวนห้องเรียนชั้นละ 1 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนทัศนาวลัย จำนวน 14 คน ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่ม
อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน
ภาษาอังกฤษร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แบบวัดทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
ของผู้เรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจโดยใช้นิทานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะ
การฟังภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้นิทานร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจต่อการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้นิทานภาษาอังกฤษร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ= 4.13, S.D. = 0.31)
Article Details
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2541, เมษายน). การเล่านิทาน. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 2(2),10-19.
เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง. (2565). การใช้นิทานท้องถิ่นสองภาษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาจุฬานาคทรรศน์, 9(12),77-87.
คุรุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. (2540, กรกฎาคม-กันยายน). นักเล่านิทานสร้างนักอ่าน. สารพัฒนาหลักสูตร 16 (130), 44-47
จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2555). ก้าวสู่ AEC ภาษาอาเซียนจำเป็นจริงหรือสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2563. เข้าถึงได้จาก www.itd.or.th/weeklyarticles.
จารุพรรณ เพ็งศรีทอง.(2544, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาปัญหาการฟังภาษาอังกฤษของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.วารสารวิจัย.4 (1),171-185.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุณยาพร อูนากูล. (2545). การพัฒนาทักษะการฟังของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ใช้แบบฝึก. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน.คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พิกุล พูลสวัสดิ์ (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเล่านิทานอิสปร่วมกับกิจกรรมเกมการศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
พล เหลืองรังษี. (2564). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัณหพัฒน์ อรุณธาณี (2542). นิทานสำหรับปฐมวัย. คณะครุศาสตร์: โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย.สถาบันราชภัฎภูเก็ต
Doff, A. (2001). Teaching English: A training course for teachers. (14th ed.). Cambridge University Press.
Goh, C. (2002). Teaching listening in the language classroom. Singapore: SEAMEO Regional Language Centre.
Howatt, A. and Dakin, J. (1974). Language laboratory materials. New York: McGraw-Hill.
Underwood, M. (1993). Teaching listening. New York: Longman.
Ur, P. (1984). Teaching Listening Comprehension. Cambridge: Cambridge University Press.
Wright, A. (2000). Storytelling with Children. New York: Oxford University Press.