องค์กรแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

กฤษฎา สินธุสนธิชาติ
สนั่น ประจงจิตร

บทคัดย่อ

           องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและจำเป็นต่อการบริหารองค์กรยุคใหม่ ซึ่งจะเป็นยุคที่เน้นการพัฒนาโดยการสร้างฐานความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และเป็นรูปแบบองค์กรที่ใช้ทัศนะการมององค์กรแบบองค์รวม คือ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน เพราะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ด้านโครงสร้างองค์กรที่มีการติดต่อสัมพันธ์ภายในองค์กรเป็นไปอย่างสะดวก สอดแทรกโอกาสในการเรียนรู้ เข้าไปในกระบวนการทำงานมีการจัดโครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร วิสัยทัศน์และกลยุทธ์องค์กรที่มีการจัดทำแผนกลยุทธ์อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อความสำเร็จขององค์กร วิสัยทัศน์มีขอบเขตที่ชัดเจน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้และวิสัยทัศน์มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์กร การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้านที่ท้าทายความสำเร็จและความอยู่รอดขององค์กรอย่างกว้างขวาง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเป็นปัญหาหรือโอกาสในการพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดดขึ้นอยู่กับวิธีการ แนวคิด หรือเป้าหมายในการนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย และดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของผู้นำองค์กรและบุคลากรในองค์กร การหาคำตอบดังกล่าวอาจมีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไปตามบริบทและสภาพแวดล้อม ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาองค์กรจะเน้นในเรื่องของความรู้ นั่นคือการให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนและจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาองค์กรให้ก้าวเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

Article Details

บท
Academic Article

References

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2561). หน่วยที่ 2 การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ในประมวลสาระชุดวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นํา หน่วยที่ 1-5. (น. 1-64). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จิราพรรณ เสียงเพราะ. (2561). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี.

ณัฎฐ์ โอ้จินดา. (2563). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 13. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.

วันชนก อาจปรุ. (2564). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

วิเศษ ชาวระนอง. (2559). รูปแบบการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 22. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

วีรยา สัจจะเขตต์. (2564). การพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์. (2554). การบริหารเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน พ.ศ.2567. เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567. ค้นจาก www.sesaskss.go.th

สุชาดา รักอก. (2565). แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

สุริยาคาร ยันอินทร์. (2564). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 14(2): 31-34.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

Marquardt, M. J. & Raynolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New York: Irwin.