ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จํานวน 2,645 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจชี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างการวิจัยจำนวน 336 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ชุด เพื่อนำมาหาค่าความเชื่อมั่นโดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาด้วยวิธีการของครอนบัค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 ซึ่งเป็นค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ และนำไปใช้เพื่อเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุที่แตกต่างกันจะมีการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แตกต่างกัน ผลการวิจัยนี้สามารถนำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในหน่วยงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานของทีมที่รับผิดชอบต่อไป
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2537). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานเป็นทีมและการจัดการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นววิธ อัศวนนท์วิวัฒน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในกลุ่มสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปุณยนุช กลิ่นมา. (2556). การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรเพชร คำสวัสดิ์. (2558). การทำงานเป็นทีมและจิตบริการที่พยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
รัชนีวรรณ อาจศิริ. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายเมือง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2, 1379-1390.
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม, สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์. (2666). รายงานผลการการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนภายหลังการถ่ายโอนคู่สายศูนย์ช่วยเหลือสังคมจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาค. ม.ป.ท.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์. (2666). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. http://www.m-society.go.th.
สำนักงานพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2547). คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ข้าราชการ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สุรเดช ฉายะเกษตริน. (2553). แนวนโยบายด้านการพัฒนาสังคมของประเทศและความ ต้องการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการพัฒนาสังคม. http://www.sti.or.th.
D. H. McGrath. (1984). Groups: Interaction and Performance. New Jersey: Prentice-Hall.
Melenie J. Lankau (2015). Examination of the Impact of Diversity, Work Group Context, and Job-Related Outcomes on Individual Performance and Satisfaction. Academy of Management Journal ed, 48(3), 323-339.
Stott, K. & Walker, A. (1995). Teams teamwork & teambuilding. Singapore: Prentice-Hall.