การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานและแนวทางการจัดการความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานเชิงอธิบาย (Explanatory mixed methods research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี และ 2.เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดจากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการแพทย์ระดับปฏิบัติการของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 337 คน ทำการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ซึ่งมีปัจจัยความเครียด 6 ปัจจัย คือ 1. สังคมของการทำงาน 2. ความสัมพันธ์ต่อตนเองและบุคคลอื่น 3. แรงจูงใจและค่าตอบแทน 4. การบริหารงานขององค์กร 5. คุณภาพชีวิตของการทำงาน และ 6. วัฒนธรรมการทำงาน การศึกษาแนวทางการจัดการความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรทางการแพทย์ระดับปฏิบัติการของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 10 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งมีแนวทางการจัดการความเครียดดังนี้ 1. การจัดการความเครียดด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย แนวทางการจัดการความเครียดแบบยั่งยืน เช่น การฝึกสมาธิ และแนวทางการจัดการความเครียดแบบทั่วไป เช่น ดูหนัง เป็นต้น 2. การจัดการความเครียดโดยการคาดหวังจากองค์กร ประกอบด้วย แนวทางการจัดการความเครียดเชิงระบบ เช่น นโยบายด้านการบริหาร และแนวทางการจัดการความเครียดรายบุคคล เช่น ให้สิทธิ์หยุด ให้กำลังใจ เป็นต้น
Article Details
References
กูลจิตร รุญเจริญ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความครียดและการจัดการความเครียดของพยาบาล โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 62, 1-10.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). คนไข้ล้น เตียงไม่พอ. วันที่สืบค้น 17 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/th/news-clipping/rama-news/newsclip29082017-1110-th.
จารุวรรณ ประภาสอน (2564). ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(38), 469-483.
จุฑามาศ โชติรัตน์ และสุภัค พฤกษิกานนท์ แวน เดอร์ โฮเวน. (2566). ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ในห้องผ่าตัด. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 10(2), 2-17.
พรพรรณ ศรีโสภา. (2561). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการความเครียด. บูรพาเวชสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2), 79-92.
มิตร ศรีมังคละ, และอาณัติ วรรณศรี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ความเครียดของพนักงานช่วยเหลือคนไข้แผนกผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งสังกัดกรมการแพทย์. วารสารพยาบาล. 69(3), 27-34.
สาวินี ตันติวุฒิคุณ, ณัฐณีย์ มีมนต์, ดรุณี ภู่ขาว, และภัคนันท์ จิตต์ธรรม. (2563). สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University. 12.
สุพรรณี พุ่มแฟง,พย,ม.,และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร,กศ,ด. (2558). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สภากาชาดไทย. (2564, มกราคม 4). แนวทากรปฏิบัติงนขอบุคลากรสภากาชาดไทย ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สด.ว. 2/2564.
Carver, et al. (1989). Assessing coping strategies: a theoretically based approach. Journal of Personality and Social Psychology, 56, 267-283.
Cooper, C.L. & Baglioni, A.J. (1988). A structural model approach toward the development of a theory of the link between stress and mental health. British Journal of Medical Psychology, 61, 87-109.
Hair et al. (1995). Multivariate data analysis : with readings (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Hair et al. (2010). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, New Jersey, USA: Person Prentice Hall.