การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานและแนวทางการจัดการความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

นัฐวรรณ บุญนารัตน์
ระพิน ชูชื่น
ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา

摘要

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานเชิงอธิบาย (Explanatory mixed methods research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี และ 2.เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดจากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการแพทย์ระดับปฏิบัติการของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 337 คน ทำการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ซึ่งมีปัจจัยความเครียด 6 ปัจจัย คือ 1. สังคมของการทำงาน 2. ความสัมพันธ์ต่อตนเองและบุคคลอื่น 3. แรงจูงใจและค่าตอบแทน 4. การบริหารงานขององค์กร 5. คุณภาพชีวิตของการทำงาน และ 6. วัฒนธรรมการทำงาน การศึกษาแนวทางการจัดการความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรทางการแพทย์ระดับปฏิบัติการของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 10 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งมีแนวทางการจัดการความเครียดดังนี้ 1. การจัดการความเครียดด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย แนวทางการจัดการความเครียดแบบยั่งยืน เช่น การฝึกสมาธิ และแนวทางการจัดการความเครียดแบบทั่วไป เช่น ดูหนัง เป็นต้น 2. การจัดการความเครียดโดยการคาดหวังจากองค์กร ประกอบด้วย แนวทางการจัดการความเครียดเชิงระบบ เช่น นโยบายด้านการบริหาร และแนวทางการจัดการความเครียดรายบุคคล เช่น ให้สิทธิ์หยุด ให้กำลังใจ เป็นต้น

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

กูลจิตร รุญเจริญ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความครียดและการจัดการความเครียดของพยาบาล โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 62, 1-10.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). คนไข้ล้น เตียงไม่พอ. วันที่สืบค้น 17 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/th/news-clipping/rama-news/newsclip29082017-1110-th.

จารุวรรณ ประภาสอน (2564). ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(38), 469-483.

จุฑามาศ โชติรัตน์ และสุภัค พฤกษิกานนท์ แวน เดอร์ โฮเวน. (2566). ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ในห้องผ่าตัด. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 10(2), 2-17.

พรพรรณ ศรีโสภา. (2561). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการความเครียด. บูรพาเวชสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2), 79-92.

มิตร ศรีมังคละ, และอาณัติ วรรณศรี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ความเครียดของพนักงานช่วยเหลือคนไข้แผนกผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งสังกัดกรมการแพทย์. วารสารพยาบาล. 69(3), 27-34.

สาวินี ตันติวุฒิคุณ, ณัฐณีย์ มีมนต์, ดรุณี ภู่ขาว, และภัคนันท์ จิตต์ธรรม. (2563). สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University. 12.

สุพรรณี พุ่มแฟง,พย,ม.,และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร,กศ,ด. (2558). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สภากาชาดไทย. (2564, มกราคม 4). แนวทากรปฏิบัติงนขอบุคลากรสภากาชาดไทย ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สด.ว. 2/2564.

Carver, et al. (1989). Assessing coping strategies: a theoretically based approach. Journal of Personality and Social Psychology, 56, 267-283.

Cooper, C.L. & Baglioni, A.J. (1988). A structural model approach toward the development of a theory of the link between stress and mental health. British Journal of Medical Psychology, 61, 87-109.

Hair et al. (1995). Multivariate data analysis : with readings (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Hair et al. (2010). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, New Jersey, USA: Person Prentice Hall.