องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียน โดยการสังเคราะห์องค์ประกอบจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียนมี 5 องค์ประกอบ 27 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรและการนำไปใช้ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 2) การจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ 3) การนิเทศภายใน ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 4) การพัฒนาและผลิตสื่อ ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ และ 5) การวัดและประเมินพัฒนาการ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ โดยองค์ประกอบการพัฒนาและผลิตสื่อ และ องค์ประกอบการวัดและประเมินพัฒนาการความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชนิษฐา จำเนียรสุข. (2561). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย
: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐิกา สุริยาวงษ์. (2565). การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเมื่อต้องเรียนที่บ้าน.วารสารวิชาการ ปีที่5 ฉบับที่ 1 : สถาบันพัฒนาพระวิทยากร.
ธนกร นิโรธร. (2559). การศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนกังานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. และสุริทอง ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ
: สุวีริยาสาส์น.
บุญเชิด ชำนิศาสตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยสยาม.
ภาณุศักร หงส์ทอง. (2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง (Executive Function: EF) ของเด็ก ปฐมวัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.
พิมพ์จันทร์ พรมมาตย์. (2561). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียน ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏชัยภูมิ.
รัตนา อินทะชัย และสายทิตย์ ยะฟู. (2559). แนวทางการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวยัของ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3.
การประชุมสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 1 : ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย.
วริญญา ศิลาโคตร. (2560). สภาพการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในบริบทประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานี.
วรรธนา นันตาเขียน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อ ส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศศิกาญจน์ แปงงามนวกุล. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล. บัณฑิต
วิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุรุพงษ์ งานฉมัง. (2564). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรพรรณี.
Kimbrough, B., & Nunnery, Y. (1998). Education Administration : An Introducation.
New York :Macmillan.