บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2

Main Article Content

สายทิพย์ สุขโข
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการฟื้นฟูภาวะถดถอยการเรียนรู้ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2  2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการฟื้นฟูภาวะถดถอยการเรียนรู้ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยจําแนก ตามเพศ  ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทํางาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการฟื้นฟูภาวะถดถอยการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2  ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านมีบทบาทอยู่ในระดับ มาก ทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดคือบทบาทด้านความปลอดภัยและขวัญกำลังใจ รองลงมาคือ ด้านสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ด้านพัฒนาและเชื่อมโยงคลังสื่อดิจิทัล ด้านเสริมพลังพัฒนาครูและบุคลากร  ด้านออกแบบการเรียนรู้ใหม่  ด้านสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ และด้านยกระดับการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่าครูที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์และขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2565). รายงานใหม่ชี้เด็กในเกือบทุกประเทศเผชิญการเรียนรู้ถดถอยเนื่องจากโควิด-19. เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.eef.or.th/news-report-covid19

ฉวีวรรณ อินชูกุล.(2566). การบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาในสถานการณ์ปกติใหม่. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 9,3 (กันยายน– ธันวาคม. 2566): 459-460

นันทิยา นุ่นจุ้ย และกัลยมน อินทุสุต. (2565). การบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิตยา หงษ์ขุนทด,บรรจบ บุญจันทร์ และอริสา นพคุณ. (2567). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ปิยาภรณ์ พูลชัย.(2565) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พัชนียา ราชวงษ์ และ อำนวย ทองโปร่ง. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1.บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชรี เครือรัตน์ และ เอกชาตรี สุขเสน. (2566). ภาวะผู้นำในยุคปกติถัดไปของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มนตรี วิชัยวงษ์,เริงวิชญ์,นิลโคตร,วัยวุฒิ บุญลอย และธีรังกูร วรบำรุงกุล. (2566). สถานการณ์นิวนอร์มอลกับการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม บนฐานทุนทางสังคม“บ้าน วัด โรงเรียน”. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

ยุทธชาต นาห่อม.(2564). การบริหารสถานศึกษา บนฐานความปกติใหม่. บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาส อังศุโชติและอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิค การใช้ SPSS ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ศิริกุล แสงศรี และ นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2565). การศึกษาการพัฒนาสมรรถนะครูตามสถานการณ์แพร่เชื้อไวรัส โคโรน่า (Covid-19) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1. บริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ศรุตตา แววสุวรรรณ และ อุไร สุทธิแย้ม. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2565). การศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 : สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://online.fliphtml5.com.

เอกฤทัย ชัยลิ้นฟ้า และพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2565). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้วิถีชีวิตใหม่สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. การบริหารและพัฒนาการศึกษา.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.