ปัญหาและอุปสรรคต่อนโยบายการบริหารจัดการกับแรงงานข้ามรัฐ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัญหาและอุปสรรคต่อนโยบายการบริหารจัดการกับแรงงานข้ามรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร โดยการศึกษาวิจัยด้วยการใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดเวทีสัมมนาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อนโยบายการบริหารจัดการกับแรงงานข้ามรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการแสวงหาข้อมูลผ่านการสนทนาเครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิธี ซึ่งสามารถวิเคราะห์และจำแนกผลของการศึกษาวิจัยปัญหาและอุปสรรคต่อนโยบายการบริหารจัดการกับแรงงานข้ามรัฐในเขตเศรษฐกิจ วิเคราะห์จำแนกออกเป็น 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและการจัดระบบฐานข้อมูลแรงงานข้ามรัฐ พบว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เสนอว่าจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางเพื่อทำฐานข้อมูลแรงงานข้ามรัฐทุกระดับที่เป็นเอกภาพทั้งระบบ มีบุคลากรและงบประมาณที่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่และนำนวัตกรรมเทคโนโลยีหรือไบโอแมทริกซ์ (Biometric) เพื่อตรวจสอบอัตลักษณ์บุคคลให้มีประสิทธิภาพ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามรัฐ และปรับปรุงด้วยการพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการแรงงานข้ามรัฐโดยดำเนินการให้มีความเหมาะสมและยุติธรรม (2) ด้านการควบคุม การป้องกัน และคุ้มครองสิทธิทางกฎหมาย พบว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเสนอว่าจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพและทักษะในการทำงานด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของแรงงานข้ามรัฐ ค่าแรง ความปลอดภัยของสถานประกอบการ การละเมิดกฎหมายแรงงานของนายจ้างและลูกจ้าง สวัสดิการแรงงาน สร้างวัฒนธรรมการยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของแรงงานข้ามรัฐ (3) ด้านการกำหนดและการตัดสินใจนโยบายทางการเมือง พบว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเสนอว่าให้มีการจัดโครงสร้างองค์กรและความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การสร้างความรับผิดชอบทางการเมืองต่อนโยบายแรงงานข้ามรัฐ จัดทำแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานข้ามรัฐให้สอดคล้องกับฐานทรัพยากร และจัดให้มีกลไกส่งเสริมและการให้ ความคุ้มครองแรงงานข้ามรัฐสามารถทำงานตามศักยภาพและวัยได้อย่างเหมาะสม มีความปลอดภัยและได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใด และการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์การค้าชายแดนที่เหมาะสมต่อการลงทุน (4) ด้านประโยชน์และผลกระทบต่อการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนและความร่วมมือระหว่างประเทศ พบว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอว่าควรมีการปฏิบัติตามอำนาจอธิปไตย บูรณาภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละชาติด้วยการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น สร้างความร่วมมือและบูรณาการทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสำคัญ และพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดนและการลงทุนที่ยั่งยืน การคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติและแรงงานข้ามรัฐ พร้อมทั้งเกียรติภูมิและผลประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร (5) ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการกำหนดมาตรการการจ้างแรงงานข้ามรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษตามหลักมาตรฐานสากล พบว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเสนอว่าต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่กับการมีระบบการตรวจสอบและกำกับดูแลประสิทธิภาพ ลดแรงกดดันและการกดขี่ด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและแรงงานข้ามรัฐด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อส่วนร่วม และสร้างภาพลักษณ์ด้านเศรษฐกิจที่เน้นอุตสาหกรรมหนักและการท่องเที่ยวเป็นสำคัญและการเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน การถ่ายโอนเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ
Article Details
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). สถิติแรงงานข้ามชาติ. เอกสาร ประมวลสถิติด้านสังคม. กรุงเทพฯ:
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์. กระทรวงแรงงาน. (2561). แนวทางใน การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
กรมประชาสัมพันธ์. (2560). เขตเศรษฐกิจพิเศษไทย 5 จังหวัด 6 พื้นที่ เพื่อรองรับ AEC. กรุงเทพฯ: สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน.
ชาย โพธิสิตา. (2549). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ปวริตร เลิศธรรมเวที และคนอื่น. (2560). วิจัยเรื่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวทาง ของอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ภูเบศ สว่างอารมณ์. (2555). วิทยานิพนธ์ เรื่องมาตรการเกี่ยวกับการควบคุม และการคุ้มครอง แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
ภัคสิริ แอนิหน. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องแรงงานต่างด้าว : การบริหารและการจัดการใน ประเทศ ไทย. วารสารศิลปะการการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561. หน้า 117 –132.
ศิริขวัญ ไผทรักษ์และคนอื่น. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องการต่อสู้ในชีวิตประจาวันของแรงงาน ข้ามชาติภายใต้กระแสเสรีนิยมใหม่กรณีศึกษาเปรียบเทียบแรงงานข้ามชาติกัมพูชาใน สมุทรปราการและแรงงานข้ามชาวพม่าในภูเก็ต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ภูเก็ต. สำนักงานบริหารงานต่างด้าว. (2556). สถิติการทำงานของคนต่างด้าวประจำเดือนธันวาคม 2556. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร. (2560). เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. สืบค้น เมื่อ วันที่ 28 กันยายน 2566จาก WWW.Fisheries.go.th./local/file.document. อีเลน เพียร์สัน. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการจ้างงานข้ามชาติในประเทศไทย:
งานหนัก จ่ายน้อยและไม่ได้รับความคุ้มครอง. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
อัญญา ปลดเปลื้อง. (2558). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา. กรุงเทพฯ: กระทรวง สาธารณสุข. William James O'Brien. (2016). Built On The Backs Of Their Neighbors: An Exploration Of Migrant Labor Practices In Southeast Asia. USA: The University of Texas at Austin.