ผลของการบูรณาการพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมต่อสุขภาวะทางจิต ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

Main Article Content

ปัญนิษา จำรัสธนเดช
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดการดูแลสุขสภาวะทางจิตของ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2) เพื่อนำเสนอโปรแกรมการบูรณาการพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาท สัมผัสที่ส่งเสริมต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง 3) เพื่อนำเสนอผลของโปรแกรมการบูรณา การพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ส่งเสริมต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวม ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 รูป/คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และกำหนด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ ตามหลักยืนยันสามเส้า และเทคนิค 6 Cs การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสูจน์สมมุติฐานด้วยt-test


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดการดูแลสุขสภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง พบว่า หลัก พุทธธรรมที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งปฏิบัติตามแล้วมีสุขภาวะทางจิตด้านความรู้สึกผ่อนคลาย ความมั่นคงทาง จิตใจ ภาวะจิตใจที่เป็นสุข และสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติสุขได้ คือ หลักสติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1) กายานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณากาย 2) เวทนานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาเวทนา 3) จิตตานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาจิต และ 4) ธัมมานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาธรรม ตามเป็นจริง และ แนวคิดจิตวิทยาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสติปัฏฐาน ประกอบด้วย 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง การโปรแกรมจิตให้เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองในการ เผชิญกับความยากลำบากที่เกิดขึ้น 2) การควบคุมอารมณ์ความรู้สึก การโปรแกรมจิตให้สามารถจัดการกับอารมณ์ทุกชนิดที่ทำให้สิ้นหวัง 3) การคิดบวก การโปรแกรมจิตให้คิดดีเพื่อเอาชนะ ความรู้สึกลบที่ทำให้หมดอาลัยในชีวิต และ 4) การปรับจิตใต้สำนึก การโปรแกรมจิตให้คิดในสิ่งที่ดี เพื่อบำบัดจิตใต้สำนึกที่ไม่ดีให้ดีขึ้นจนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

  2. โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เรียกว่า ปัญนิษา 444 (PANNISA 444 MODEL) เป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน 4 คือ 1) ตั้งสติกำหนดพิจารณาร่างกายด้วยการพิจารณาแยกความรู้สึกจากกาย 2) พิจารณา ความรู้สึกหดหู่ เศร้าหมอง กังวล เครียด 3) พิจารณาจิตใจให้แยกความเจ็บป่วยออกจากจิต และ 4) พิจารณาสภาวธรรมที่ไม่ดีที่ครอบงำ บีบคั้น และปรุงแต่งจิตใจให้เกิดความหดหู่ เศร้าหมอง และหมด อาลัยในชีวิต กับแนวคิดจิตวิทยาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส 4 ด้าน คือ 1) การเห็นคุณค่าใน ตนเองด้วยการสื่อสารสั่งจิตให้เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง 2) การควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกด้วยการสื่อสารเพื่อสั่งจิตให้สามารถจัดการกับอารมณ์เชิงลบ 3) การคิดบวกด้วยการสื่อสาร เพื่อสั่งจิตให้คิดในเชิงบวก 4) การปรับจิตใต้สำนึกด้วยการสื่อสารเพื่อสั่งจิตให้คิดดีจนสามารถดำเนิน ชีวิตได้อย่างปกติสุข ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 1) มีความรู้สึกผ่อนคลาย 2) มีความมั่นคงทางจิตใจ 3) มีภาวะจิตใจที่เป็นสุข และ4) มีการดำเนินชีวิตได้ปกติสุข

  3. ผลของโปรแกรมการบูรณาการพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ส่งเสริม ต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง แสดงว่า โปรแกรมได้ช่วยให้สุขภาวะทางจิตของผู้ป่วย โรคมะเร็งสูงขึ้นและดีขึ้นหลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 และผู้ป่วย โรคมะเร็งกลุ่มทดลองที่เข้าโปรแกรม “โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตมหัศจรรย์” มีผลทำให้มีสุข ภาวะทางจิตที่สูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5

Article Details

บท
Research Articles

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏก 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

Ryff, Carol D. (1989). Happiness is Everything, or Is It? Exploration on the Meaning of Psychological Well-Being. Journal of Personality and Social Psychology. 57(6): 1069-1081.

Ryff, Carol D.; & Keyes, Corey Lee M. (1995). The Structure of Psychological Well-Being Revisited. Journal of Personality and Social Psychology. 69(4): 719-727.

Thecoverage (ออนไลน์) ที่มา: https://www.thecoverage.info/news/content/6305