การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูปโดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเกม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ศักดิ์สิทธิ์ ชัยทิพย์
ชวนพิศ รักษาพวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเกมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยฝึกทักษะร่วมกับเกม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยฝึกทักษะร่วมกับเกม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โรงเรียนบ้านวังตาเทพ อำเภอเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเกม หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วย
การเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเกม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน มีค่าคุณภาพรวมของแผนอยู่ที่ 4.67 เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับเหมาะสมมากทุกแผน 2) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเกม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้สระลดรูปเปลี่ยนรูป โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเกม หลังเรียน 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างจากคะแนนหลังเรียน

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศักษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดวงพร เฟื่องฟู. (2560). การพัฒนาชุดกิจจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H

เพื่อส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพ ฯ : สุวีริยาสาสน.

ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์. (2549). เกมพลศึกษา. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2548). การเขียนสร้างสรรค์ไม่ยากอะไรเลย. กรุงเทพ ฯ : นวสาสน์ การพิมพ์.

สาโรจน์ โคภีรักษ์. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพ ฯ : บุ๊คพอยท์

สำลี รักสุทธิ. (2551). แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาสัมมนาหลักสูตรการสอนวิชา

ภาษาไทย. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์.(2550). นวัตกรรมตามแนวคิด Backward Design. กรุงเทพ ฯ : ชางทอง.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551).นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม :ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

Allan, I.E. (2007). Growing by degrees: Online Education in the United States.

Oxford:Basil Blackwell Company. USA : Sloan Consortium.

Amornchewin, R. (2018). The Development of SQL Language Skills in Data

Definition And Data Manipulation Languages Using Exercises with Quizizz for Students' LearningEngagement. Indonesian Journal of Informatics Education, 2(2), 85-90. UniversitasSebelas Maret.

Anastasi, A. (1982). Psychological testing (5 th ed.). New York : Macmillan.

Basal, A. (2015). Perceptions of Pre-service English Teachers towards the Integration

ofan LMS into English Language Teacher Education. Journal of Technology

and Teacher Education, 23(4), 485-507. Waynesville, NC USA: Society for

Information Technology & Teacher Education.