ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมทางการเมือง, ผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 340 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยรวมทั้ง 2 ด้าน มีค่าแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ปฏิบัติงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 2 ด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
กระบวนการและขั้นตอนในการตัดสินใจต้องผ่านการตรวจสอบโดยมีระเบียบปฏิบัติ ในแต่ละอำนาจหน้าที่และการดำเนินการมักไม่ใช้กระบวนการประชาพิจารณ์ หรือใช้เทคนิคกลวิธีการต่างๆ แต่ใช้อำนาจที่ตนมีในการเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองและทำให้โครงการนั้นผ่านประชาพิจารณ์ โดยที่ไม่ได้มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนอย่างแท้จริง ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ควรมีกระบวนการการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่อง และควรแต่งตั้งกรรมการด้านต่างๆ เป็นการเฉพาะด้าน เช่น การทำประชาพิจารณ์ในโครงการต่างๆ ทุกโครงการจะต้องผ่านการยอมรับ และต้องเผยแพร่
References
โรเบิร์ต บี อัลบริททัน และ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล. (2543). การเลือกตั้งระบบใหม่. กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.
สาวิตรี ก้อนอาทร. (2551). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2539). สองนัคราประชาธิปไตย : แนวทางการปฎิรูปการเมือง เศรษฐกิจเพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มติชน.
Lucien W. Pye. (1966). Aspects of Political Development. Boston : Little, Brown and company.