แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดผึ้ง อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามเพศ ประเภทและกลุ่มอายุ และเพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง 223 คน กรอบแนวคิดสวัสดิการผู้สูงอายุ 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และ ด้านสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือ ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสุขภาพร่างกาย ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำแนกตามเพศ ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประเภทและกลุ่มอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อมมีระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน ข้อเสนอแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สรุปได้ดังนี้ ควรมีการเยี่ยมบ้าน จัดรถรับส่ง มีสายด่วนแจ้งเหตุ จัดให้มีจิตอาสาไว้บริการตามหมู่บ้าน บริการข่าวสารหลายช่องทาง จัดให้มีบทบาทในสังคม ตั้งกองทุนฌาปนกิจศพ จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ จัดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย ดูแลที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ
References
ปิยภรณ์ เลาหบุตร.(2557).คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)
บุญชม ศรีสะอาด. (2548). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วีระพงษ์ พรายภิรมณ์ (2557) คุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัด สมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2541). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักฯ.
Farquhar, M. (1995). Elderly people’s definitions of quality of life. Social science & medicine, 41(10), 1439-1446.