บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนศรีฐาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อธิปไตย จาดฮามรด

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, บทบาท, การพัฒนาชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชนและเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชนศรีฐาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน 4 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่และตีความตามเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนศรีฐานมีบทบาทเป็นผู้นำความคิดและจิตวิญญาณ เป็นผู้ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ในชุมชน เป็นผู้อบรมเลี้ยงดูบุตรหลานซึ่งเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่มีคุณภาพ ผู้สูงอายุในชุมชนศรีฐานเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เข้าวัดทำบุญ ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีบทบาทในการสืบทอดให้สมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชุมชน คือ ปัญหาสุขภาพ มีโรคประจำตัว ยืนหรือนั่งนาน ๆ ไม่ได้ บางครั้งสภาพครอบครัวไม่เอื้อต่อการเข้าร่วม เช่น ต้องหารายได้ มีบุตรหลานที่ต้องเลี้ยงดู นอกจากนั้นการส่งต่อภูมิปัญญาไม่มีการบันทึกไว้ แต่ใช้การเรียนรู้แบบบอกเล่า และทำให้ดูจึงทำให้การเรียนรู้หรืออนุรักษ์ไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น ผู้นำชุมชนและครอบครัวควรส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลโรค หน่วยงานในพื้นที่ควรมีการตรวจคัดกรองโรคอย่างสม่ำเสมอ และในชุมชนเองควรตระหนักถึงความสำคัญของการบันทึกความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาของผู้สูงอายุไว้เพื่อการเรียนรู้และสืบทอดต่อไป

References

ชุมชนศรีฐาน. (2560). ส่งข้อมูลสู่ชุมชน “สืบค้นเมืองเก่าบ้านเราศรีฐาน”. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561, จาก http://www.kkmuni.go.th/2017/article/news/1324.
เทศบาลนครขอนแก่น. (2559). ข้อมูลชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จากhttp://www.kkmuni.go.th/basic-data/society-data/community.pdf

นพพรรณพร อุทโธ. (2552). การศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ที่มีต่อการพัฒนาชุมชน การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ปัญญภัทร ภัทรกัณทากุล. (2544). การศึกษาการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและ ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่).

พระครูสิงห์แก้ว วชิรธมฺโม. (2554). การศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริม กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

รตา สุวรรณดารา. (2554). ศักยภาพผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลตอหลัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561. จาก http://thaitgri.org/?p=36172#.

วนิดา ทองปล้อง. (2546) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพงษ์ เกี้ยวสกุล. (2555). การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนในการมีการนำพลังผู้สูงอายุมาใช้ในการพัฒนาชุมชน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-11