การมีส่วนร่วมของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ มหาวงค์

คำสำคัญ:

ยาเสพติด, ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน, การป้องกัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน(ชรบ.) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ) ในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของเพศ จำแนกเป็น 2 กลุ่มโดยใช้ค่าสถิติ T-test ส่วนอายุสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ ซึ่งจำแนกมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยการทดสอบค่า F-test เมื่อมีนัยสำคัญทางสถิติจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้สูตรการทดสอบของ LSD ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ระดับการมีส่วนร่วมของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40-49 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกรรม
  2. 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า เพศและอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ สถานภาพและระดับการศึกษา ต่างกัน การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกัน

3. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู คือ 1) ให้ความรู้ถึงพิษภัยปัญหาของยาเสพติดที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม และครอบครัว 2) ให้ความรู้ทางข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการช่วยเหลือเจ้าพนักงานของหน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน พ.ศ. 2561 3) เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น การฝึกทบทวนยุทธวิธีในการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ยุทธวิธีการตรวจค้น การจับกุม และทักษะด้านการใช้อาวุธปืน 4) หน่วยงานรัฐควรจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พร้อมเพียง เช่น ชุดสะท้อนแสงในเวลากลางคืน กรวย ป้ายสัญญาณ 5) เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง เช่น ตำรวจ ทหาร ปกครอง ต้องเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ) จนเขาเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ 6) ต้องสร้างจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด

References

กฤษฎา นาคประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

ชนภรณ์ สังสนา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในบ้านคลองม่วงเหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลลาพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี.(วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

พรหมพิริยะ พนาสนธิ์.(2556). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการและสมาชิกชุมชนวัดปุรณาวาส ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี).

พิมลวัฒนา กลิ่นจันทร์.(2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตตำบลไผ่ล้อมอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

ศิวรักษ์ ถมมา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี กรณีศึกษา : ตำบลสวนใหญ่. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-11