การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนโดยการใช้เทคนิค KWL Plus
คำสำคัญ:
การอ่านจับใจความสำคัญ, วิธีการสอนอ่านแบบKWL Plus, ผลสัมฤทธิ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้เทคนิค KWL Plus กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา จำนวน 34 คน โดยได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิค KWL Plus ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาแล้วใช้สื่อการเรียนรู้การฝึกฝนทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติแบบ Parametic ใช้สถิติการทดสอบ t-test แบบ dependent สำหรับเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการใช้เทคนิค KWL Plus สูงกว่าก่อนการใช้เทคนิค KWL Plus อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.cvk.ac.th/download/.pdf.
ณัฐภัทร ปันปิน. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการสอนอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับวิธีการอ่านแบบจับคู่ ที่มีต่อทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพพรรณ อินทนิล. (2553). เทคนิคการเล่านิทาน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รินทร์ลภัส เฉลมธรรมวงษ์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLPlus. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสาวภา ช่วยแก้ว. (2558). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWLH PLUS. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.