การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการใน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต)

การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการใน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต)

ผู้แต่ง

  • Tippamas Sawetworrachot 0866299115

คำสำคัญ:

การใช้, ธรรมาภิบาล, การบริหารกิจการคณะสงฆ์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลัก ธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) การวิจัยครั้งนี้กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed methodology research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร ได้แก่ พระภิกษุในจังหวัดนครศรีธรรมราช ธรรมยุต จำนวน 415 รูป กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครซี่ & มอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้ขนาด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 รูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่า t-test และหาค่า F-test ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนาประกอบบริบท

ผลการวิจัย พบว่า

1.ด้านการใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) โดยรวมทั้ง 6 หลัก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ หลักความรับผิดชอบ ส่วนหลักความมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

  1. ด้านการเปรียบเทียบ การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) จำแนกตาม อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน พบว่า จำแนกตาม อายุ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และโดยจำแนกตามพรรษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนโดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาสายสามัญและวุฒิการศึกษาทางธรรม โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ด้านแนวทางในการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) 1) หลักคุณธรรม พระสังฆาธิการต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงามเป็นที่ตั้ง มีความเสียสละ มีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 2) หลักนิติธรรม พระสังฆาธิการ ต้องมีความเคารพใน พระธรรม – วินัย กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบ คำสั่ง รวมถึงกฎหมายบ้านเมือง 3) หลักความโปร่งใส พระสังฆาธิการต้องมีการเปิดเผยข้อมูล สามารถตรวจสอบได้ ควรส่งเสริมให้มีการจัดทำรายรับ-รายจ่าย ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตรงไปตรงมา ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 4) หลักความมีส่วนร่วม พระสังฆาธิการต้อง กระจายงานให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้อง อย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึงความสามารถของแต่ละบุคคล พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและข้อเสนอต่าง ๆ 5) หลักความรับผิดชอบ พระสังฆาธิการที่ปฏิบัติงาน ต้องมีความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติอย่างถ่องแท้ มีความรับผิดชอบในงาน รวมถึงต้องสามารถปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที 6) หลักความคุ้มค่า พระสังฆาธิการต้องสามารถที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด มีความประหยัด มีการวางแผนในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ

References

กรมการศาสนา. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการและพระวินยาธิการ. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (2505, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 79 ตอนที่115 หน้าที่ 1-19.

รุจิรา แจ้งแสงทอง. (2559). การใช้หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารบุคคล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2549). การวิจัย. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). รายงานสรุปจำนวนวัด พระภิกษุ และสามเณรในจังหวัดนครศรีธรรมราช พุทธศักราช 2561. สืบค้น 25 มิถุนายน 2560, จาก http://nrt.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=ar ticle&id=132&Itemid=115

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25